การจัดการจัดทำขีดความสามารถ, สมิต สัชฌุกร,นิมล เรืองตื้อ,กนกวรรณ คุณวุฒิปรีชาญ,ชาติ ตรีเดช, เคเอ็นซี เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์
ReadyPlanet.com
dot dot
bulletIn-house Training
bulletบริการจัดกิจกรรม Walk Rally
dot
ค้นหาหัวข้อ/หลักสูตรต่างๆ

dot
bulletวิทยากร
ค่าอบรมสัมมนาลดหย่อนภาษี 200%
dot
ใส่อีเมล์เพื่อรับข่าวสารสัมมนา

dot
dot
สถานที่จัดสัมมนา
dot
bulletโรงแรมเซนต์เจมส์ สุขุมวิท 26
bulletโรงแรมอไรซ์ สุขุมวิท ซ.26
bulletโรงแรมจัสมินซิตี้ สุขุมวิท ซ.23
bulletโรงแรมแกรนด์ สุขุมวิท ซ.4-6
bulletโรงแรมบูเลอวาร์ด สุขุมวิท ซ.5
bulletโรงแรมฮิป ซ.เนียมอุทิศ
bulletโรงแรมเดอะ พาลาซโซ
bulletแผนที่โรงแรมโกลด์ ออร์คิด
bulletศูนย์ประชุม เดอะคอนเน็คชั่น
bulletโรงแรมโนโวเทล สุขุมวิท ซ.20
bulletโรงแรมเอส 31 (สุขุมวิท 31)
bulletโรงแรม HOLIDAY INN BANGKOK
bulletโรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ แพลทินัม ประตูนั้ำ
bulletโรงแรม Rembrandt Hotel & Suites, Bangkok
bulletโรงแรมเมอเวนพิค สุขุมวิท 15 กรุงเทพฯ
dot
สมัครสมาชิก
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่ขณะนี้ คน
สมาชิกที่ Log in อยู่
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 37 คน
dot
หนังสือวรรณศิลป์/สมิต สัชฌุกร
หนังสือข้อคิดควรคำนึง/สมิต สัชฌุกร
รับสมัครวิทยากร
bulletหลักสูตร Public Training


บริการจัด Walk Rally, In-house Training ราคาพิเศษ
บริการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์
ค้นหาราชกิจจานุเบกษา

รูปแบบใหม่ของการทำกิจกรรม Outing และ Training
สัมมนาวิญญูชน
วิดีโอบรรยากาศการสัมมนา ของ เคเอ็นซี เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์
สแกนเพื่อติดต่อเคเอ็นซีทาง Line


การจัดทำขีดความสามารถ

 

การจัดทำขีดความสามารถ

สมิต สัชฌุกร*
------------------------------------------------

ในทางราชการนิยมแปล “Competency” ว่าสมรรถนะ แต่ในทางธุรกิจมักจะใช้คำว่า ขีดความสามารถเพื่อให้ต่างจากคำว่า ความสามารถ ที่ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Ability

มีการนำเรื่องขีดความสามารถมาเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ผู้ซึ่งเผยแพร่เรื่อง Competency ให้ได้ศึกษาและนำมาประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวาง คือ อ.ธำรงศักดิ์ คงคาสวัสดิ์ ผู้เขียนหนังสือเรื่อง เริ่มต้นอย่างไร เมื่อจะนำ Competency มาใช้ในองค์กร และ “Competency ภาคปฏิบัติ เขาทำกันอย่างไร

หลายหน่วยงานที่จัดทำ ยึดความสามารถด้วยวิธีลัดก็ได้ใช้ Competency Dictionary เป็นตัวแบบ (Template) และบางแห่งก็ใช้การคัดลอกจากพิมพ์เขียว (Blue print) ซึ่งน่าจะเป็นพิมพ์สีน้ำเงินตามศัพท์ในภาษาอังกฤษ ถือได้ว่าเป็นการเร่งรัดเกินไปที่จะก้าวข้ามความเข้าใจพื้นฐานของ Competency

ดังนั้นรายการทบทวนเรื่อง การจัดทำขีดความสามารถ นี้จึงมุ่งให้มีการตรวจสอบให้การจัดทำขีดความสามารถเป็นกระบวนการและมีขั้นตอนการปฏิบัติ อย่างเป็นระบบเพื่อความถูกต้องสมบูรณ์ ของขีดความสามารถที่จะนำไปปฏิบัติได้สะดวก ในรูปแบบของ Competency-based Management ตามรายการทบทวน ดังนี้

 

ความเข้าใจเรื่องขีดความสามารถ

1. ทำความเข้าใจแนวคิดเกี่ยวกับขีดความสามารถ

2. ทำความเข้าใจในเรื่องความรู้ที่จำเป็นและเกี่ยวข้อง

3. ทำความเข้าใจทักษะที่จำเป็นต้องมี

4. ทำความเข้าใจคุณลักษณะที่เหมาะสมของบุคคล

5. พิจารณาถึงเป้าหมายของขีดความสามารถที่จะสามารถปฏิบัติงานให้ประสบความสำเร็จ

6. พิจารณากำหนดประเภทของขีดความสามารถเท่าที่เหมาะสมและจำเป็น

7. ไม่ควรกำหนดให้มีประเภทของขีดความสามารถมากจนเกิดสับสน

 

การหาขีดความสามารถหลัก

8. พิจารณากำหนดให้มีขีดความสามารถหลักที่พนักงานทุกคนต้องมี

9. ผู้บริหารสูงสุดแสดงออกถึงการสนับสนุนในการกำหนดให้มีการหาขีดความสามารถ

10. ผู้บริหารทุกระดับร่วมในการขีดความสามารถหลัก

11. ไม่มีการจ้องจับผิดในการหาขีดความสามารถหลัก

12. ส่งเสริมให้มีความคิดเชิงบวกต่อการกำหนดขีดความสามารถหลัก

13. ต้องได้ผู้บริหารสูงสุดเป็นประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบขีดความสามารถ

14. มีผู้จัดการฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคลเป็นเลขานุการคณะกรรมการฯ

15. มีผู้จัดการฝ่ายตามสายงานเป็นคณะกรรมการฯ

16. มีการให้ความรู้ ความเข้าใจกับคณะกรรมการฯ อย่างสมบูรณ์ครบถ้วน

17. ฝึกอบรมพนักงานให้เข้าใจระบบอย่างถ่องแท้ด้วยการประชุมเชิงปฏิบัติการ

18. คณะกรรมการพัฒนาระบบขีดความสามารถ จัดให้มีการร่วมคิด กำหนดขีดความสามารถหลัก

19. คณะกรรมการฯ ให้นิยาม หรือคำจำกัดความขีดความสามารถหลักแต่ละตัว

20. พิจารณากำหนดระดับความคาดหวังของขีดความสามารถหลักให้ชัดเจน

 

การหาขีดความสามารถเฉพาะตำแหน่ง

21. ทำความเข้าใจความหมายของขีดความสามารถเฉพาะตำแหน่งให้ชัดเจน

22. เน้นขีดความสามารถที่เฉพาะเจาะจงของแต่ละตำแหน่งอย่างเป็นรูปธรรม

23. จัดแบ่งกลุ่มงาน ซึ่งเป็นไปตามหน้าที่ในหน่วยงาน

24. ระบุหน้าที่งานที่จะหาขีดความสามารถเฉพาะตำแหน่ง

25. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ หน่วยงานต่างๆ ระดมความคิดเพื่อค้นหาขีดความสามารถเฉพาะตำแหน่ง

26. คัดเลือกพนักงานที่รู้งานดี มีความเข้าใจเป็นตัวแทนความคิดในแต่ละระดับเข้าร่วมประชุมระดมความคิด

27. พยายามส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วมในทุกระดับ

28. จัดทำแบบพิมพ์วิเคราะห์หาขีดความสามารถเฉพาะตำแหน่ง

29. ส่งแบบพิมพ์วิเคราะห์หาขีดความสามารถเฉพาะตำแหน่ง ให้ผู้เข้าประชุมศึกษาล่วงหน้า

30. ประชุมอธิบายการใช้แบบพิมพ์เพิ่มเติม

31. นำงานและความรับผิดชอบตามใบพรรณนาลักษณะงาน (Job Description) ที่เป็นปัจจุบันมาเขียนลงในแบบพิมพ์

32. ให้ผู้เข้าประชุมร่วมกันคิดและอภิปรายความเห็นว่าในงานและความรับผิดชอบต้องการขีดความสามารถใดที่จะทำให้งานประสบความสำเร็จ

33. ใช้แนวทางการพิจารณาขีดความสามารถในเรื่องความรู้ ทักษะและคุณลักษณะที่จะทำให้สามารถปฏิบัติงานในตำแหน่งประสบความสำเร็จ

34. ไม่กำหนดจำนวนข้อของขีดความสามารถเฉพาดตำแหน่งมากเกินไป

35. ให้นิยาม หรือคำจำกัดความของขีดความสามารถเฉพาะตำแหน่งแต่ละข้อให้เข้าใจชัดเจน

36. กำหนดระดับความคาดหวังในแต่ละระดับของตำแหน่งงานให้เป็นที่เข้าใจตรงกัน

 

การประเมินขีดความสามารถเป็นรายบุคคล

37. จัดทำแบบประเมินขีดความสามารถ

38. แบบประเมินมีส่วนประกอบ ได้แก่ ขีดความสามารถหลักและขีดความสามารถเฉพาะตำแหน่ง

39. แต่ละหัวข้อประเมินมีนิยามและระดับตำแหน่ง ระดับขีดความสามารถและระดับที่คาดหวัง

40. มีการลงชื่อผู้ประเมินและผู้ได้รับการประเมิน

41. ก่อนมีการประเมินขีดความสามารถได้จัดให้มีการประชุมชี้แจงทำความเข้าใจ แนวคิด แบบประเมินและวิธีการประเมิน เพื่อให้ได้รับผลการประเมินที่ถูกต้อง

42. ประชุมตกลงรอบ หรือระยะเวลาในการประเมินขีดความสามารถให้เหมาะสมกับองค์กร

 

การนำผลการประเมินขีดความสามารถไปใช้

43. นำผลการประเมินขีดความสามารถไปใช้ประโยชน์ในเรื่องการกำหนดคุณสมบัติ เพื่อการว่าจ้างให้เหมาะสม

44. นำผลการประเมินขีดความสามารถไปใช้ในการจ่ายค่าตอบแทนการโยกย้ายตำแหน่ง หรือการเลื่อนชั้น

45. นำผลการประเมินขีดความสามารถไปคำนวณหาช่องว่างของขีดความสามารถ (Competency Gap)

46. นำผลการประเมินขีดความสามารถไปพัฒนาบุคลากร

47. นำผลการประเมินขีดความสามารถไปพิจารณาหาความจำเป็นในการฝึกอบรม

48. นำผลการประเมินขีดความสามารถไปจัดทำหลักสูตรการฝึกอบรม

 

ข้อควรคำนึงและข้อพึงระวัง

49. การนำระบบขีดความสามารถมาใช้ ต้องได้ได้รับการอนุมัติจากผู้นำสูงสุดขององค์การด้วยความเข้าใจและเห็นประโยชน์อย่างแท้จริง

50. การเริ่มต้นจัดทำขีดความสามารถ ต้องให้ความรู้ ความเข้าใจและเกิดการยอมรับในหมู่ผู้บริหารทุกระดับ

51. ต้องมีการตรวจสอบ คัดกรอง ก่อนนำไปใช้อย่างรอบคอบ

52. การนำขีดความสามารถเฉพาะตำแหน่งไปใช้ต้องผ่านการพิจารณาและให้ความเห็นชอบ ทั้งผู้บังคับบัญชา ผู้ดำรงตำแหน่งและผู้ร่วมงานที่ทำงานร่วมกับผู้ดำรงตำแหน่ง

53. การทำความเข้าใจในระบบขีดความสามารถ จะต้องทำทุกวิถีทางให้เกิดการเรียนรู้ในหมู่พนักงานทุกระดับอย่างทั่วถึง

54. การติดตามและประเมินผลการใช้ระบบขีดความสามารถเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อปรับปรุงให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ทางการบริหารจัดการขององค์กร

 

หากได้ทบทวนตามรายการที่กล่าวมาข้างต้นจะช่วยไม่ให้ตกหลุมพรางของการนำระบบขีดความสามารถมาใช้แบบครึ่งๆ กลางๆ และเกิดปัญหาตามมาภายหลัง

 

------------------------------------------------------

 

*สมิต สัชฌุกร ผู้เชี่ยวชาญ ด้าน HR 
จบการศึกษา จากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น จากทั้งธรรมศาสตร์ (2549) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2539)
ประสบการณ์การทำงาน ท่านทำงานมาหลากหลาย หน้าที่ เช่น อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ หัวหน้าส่วนพัฒนาบุคคล และฝึกอบรม ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด ประธานกรรมการบริษัท แมเนจเม้นท์ลิงค์ จำกัด
ด้านกิจกรรมทางสังคมและวิชาชีพ เป็นนายกสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย นายกสมาคมพัฒนาบุคคลและวิชาชีพ นายกวาทสมาคมแห่งประเทศไทย และอุปนายกสมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย




บทความ

การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management)
บริการสำคัญอย่างไร ?
การหมุนเวียนงาน
การสัมภาษณ์สำหรับผู้บริหาร
การตัดสินใจ
การให้คำปรึกษาแนะนำ
การวิเคราะห์และแก้ปัญหา
การปรับปรุงกระบวนการ
การปฐมนิเทศพนักงานใหม่
การบริหารกิจกรรม 5ส
การบริหารทรัพยากรมนุษย์บนพื้นฐานของระบบความสามารถหลัก
การวางแผนกลยุทธ์
การทำงานเป็นทีม
ลดต้นทุนในองค์กร เรื่องที่ทุกคนต้องใส่ใจ
เอกชน โยกฐานผลิตไป มะริด-ทวาย หนีค่าจ้าง 300 บาท
จุดแข็ง-จุดอ่อน-เบื้องต้น ของประเทศต่างๆใน AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
โหราศาสตร์ค้นหา 'Talent'
ปัญหาภาษีอากรสำหรับการประกอบกิจการขนส่ง ขนถ่ายสินค้า
เปิดคัมภีร์บริหารคน article
เทรนด์บริหารงาน HR ปี 2555 article
HR Trends 2013 article



Copyright © 2013 All Rights Reserved.