หลักการและเหตุผล
ความคิดนอกกรอบในองค์กร
ความคิดนอกกรอบในองค์กรถือเป็นการปฏิวัติกระบวนการทำงานแบบเดิมๆ ที่เคยใช้ในการบริหารจัดการในอดีต ยิ่งปัจจุบันเทคโนโลยีการสื่อสารได้เข้ามามีบทบาท ทำให้การรับรู้ของบุคลากรเติบโตอย่างรวดเร็ว ความคิดใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา หากมนุษย์มิได้มีการพัฒนาความคิด หรือนำความคิดดังกล่าวออกมาแสดง ก็เท่ากับเป็นการปิดกั้นความคิดอย่างเสรี
ผู้ที่มีอิทธิพลในกระบวนการคิดนอกกรอบในองค์กร คือ ระดับผู้บริหาร เพราะองค์กรจะเดินไปในแนวทางใด ขึ้นกับผู้บริหารในการแสดงวิสัยทัศน์ขององค์กร แต่องค์กรโดยส่วนใหญ่ต่างให้ความสำคัญกับการตลาด (Marketing) เป็นอันดับแรก รองลงมาคือเรื่องของค่าเสื่อมสภาพ (Maintenances) ก่อนจะมาถึงเรื่องของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Development–HRD) ซึ่งมักจะให้ความสำคัญอยู่ในอันดับท้ายสุด
การที่จะให้องค์กรเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนามนุษย์เป็นอันดับแรก ก่อนที่จะสนใจในสิ่งอื่น ๆ เพราะมนุษย์เป็นผู้ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของทรัพยากรเหล่านั้น
ปัจจุบันนี้หลายองค์กรเริ่มหันมาให้ความสนใจกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มากขึ้น แต่ก็ยังไม่สามารถพัฒนาให้ตรงตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่วางไว้ หรือก้าวเข้าสู่วิสัยทัศน์ (Vision) ที่องค์กรได้วางไว้
ผู้บริหารและทุกๆ คนในองค์กร มีส่วนผลักดันให้เกิดการพัฒนาไปในทิศทางเดียวกันได้ แต่ต้องไม่ลืมว่า บุคคลแต่ละบุคคลต่างมีเป้าหมายเป็นของตนเอง เพียงแต่ยังไม่ได้ถูกนำออกมาใช้ การคิดนอกกรอบ เป็นแนวทางเบื้องต้น ในการพัฒนาสังคมให้ก้าวหน้าต่อไปได้ เพราะการคิดนอกกรอบเป็นพลังขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ไม่มีที่สิ้นสุด
การคิดเพียงอย่างเดียวมิได้ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ แต่การที่ได้นำความคิดมาเขียน หรือปฏิบัติได้จริง เท่ากับเป็นการนำความเป็นนามธรรม (Intangible) แปรเปลี่ยนให้กลายเป็นรูปธรรม (Tangible) ที่สามารถจับและสัมผัสได้ ความคิดของมนุษย์ต่างก็มีค่ามีความสำคัญกันทั้งสิ้น เพียงแต่ยังไม่มีช่วงเวลาที่จะให้ได้นำออกมาใช้ ก็เพียงเพราะว่า บุคลากรรุ่นแรกๆ ยังไม่ละทิ้งความต้องการทะยานอยากในด้านต่างๆ
โดยเฉพาะด้านอำนาจกลัวว่าตนเองจะเสียอำนาจ เสียการปกครอง มิได้คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง มองเห็นแต่ประโยชน์ส่วนตนที่ควรจะได้รับ ไม่รู้จักการวางมือหรือการละวาง ดำเนินตามทางสายกลางตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่ให้ผู้ปฏิบัติเดินทางสายกลาง ไม่ตึงไม่หย่อนจนเกินไป
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า “คนเราทุกคนล้วนมีความแตกต่างกันต้องรู้จักให้เกียรติซึ่งกันและกัน”
2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า “สิ่งดีๆ และมีคุณค่าบางอย่างล้วนเกิดขึ้นได้เพราะความแตกต่างของคน”
3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ว่า “รากฐานของการมีความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์นั้นต้องเริ่มต้นที่การมีความคิดเชิงบวก”
4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการมีความคิดริเริ่ม”
5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการมีความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์”
6. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการคิดอย่างเป็นระบบ”
7. ผู้เพื่อให้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “เทคนิคการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์”
8. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “วิธีการระดมสมองเพื่อให้ได้มาซึ่งความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์”
หัวข้อการอบรม
ภาพรวมของการคิดที่เป็นองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
· กระบวนการคิด (Thinking Process)
o กระบวนการในการคิดลักษณะต่าง ๆ เพื่อให้งานประสบความสำเร็จ
o ความสำคัญของการพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการทำงาน
o ลักษณะของความคิดสร้างสรรค์
o องค์ประกอบที่ช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
· ความคิดสร้างสรรค์กับจิตนาการ วิสัยทัศน์และความคิดเชิงกลยุทธ์
· ที่มาของความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม
· เทคนิคและวิธีการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
· 5 ขั้นตอนการเกิดความคิดสร้างสรรค์
· ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมในการแก้ปัญหา (Problem Solving)
o การคิดแก้ปัญหางานอย่างสร้างสรรค์
o การคิดสร้างสรรค์เพื่อการปรับปรุงงาน
· หลักความคิดที่เสริมแรงของความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
o ความคิดเชิงบวก (Positive Thinking)
o ความคิดริเริ่ม (Initiative Thinking)
o ความคิดนอกกรอบ (Lateral Thinking or Think out of the box)
o การคิดอย่างเป็นระบบ (Systematic Thinking)
o ความคิดเชิงนวัตกรรม (Innovative Thinking)
· เทคนิคต่างๆ ในการให้ได้มาซึ่งความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์
o หลักการคิดด้วยมิติ 4 ย. (โยง,ใหญ่,แยก,ย่อย)
o การคิดด้วยหมวก 6 ใบ, การคิดแบบผู้ชนะ 10 คิด
o การดักจับความคิด (Idea spotting)
o กระบวนการจัดลำดับความคิด
o เทคนิค “ไม่พอใจกับสิ่งที่มีอยู่…หรือสิ่งที่เป็นอยู่”
o เทคนิค “ตรงกันข้าม”
o เทคนิค “Mind Map”
o เทคนิค “ต้นน้ำ…ปลายน้ำ”
· กิจกรรมเพื่อการฝึกฝนพัฒนาทักษะการคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์
· กิจกรรมกลุ่มเพื่อฝึกฝนการระดมสมอง (Brain Storming) ให้ได้มาซึ่งความคิดสร้างสรรค์
รูปแบบหลักสูตร
1. การบรรยาย 30 %
2. เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop 70%
วิทยากรในการฝึกอบรม อาจารย์อานุภาพ พันชำนาญ
การศึกษา
· ปริญญาตรี วิศวอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (อสบ.) มหาวิทยาลัยศรีปทุม
· ปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการการตลาด (MBA Marketing) มหาวิทยาลัยรามคำแหง
การทำงานในอดีต - ปัจจุบัน
· อาจารย์สอนสมาธิ ที่สถาบันพลังจิตตานุภาพ
· อดีตอาจารย์พิเศษที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สอนวิชาเลือก : เรื่องไร้สาระ แต่กลับมีสาระอย่างคาดไม่ถึง : วิชาจีบ วิชาเคล็ดลับจับโกหก ร่วมกับอาจารย์ธนิช)
· เป็นวิทยากรให้กับสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) [สสท.]
· เป็นวิทยากรให้กับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดชลบุรี
· เป็นวิทยากรหน่วยงานราชการและบริษัทเอกชนอีกมากมาย ฯลฯ
กำหนดการ วันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม 2567 เวลา 09.00-16.00 น.
สถานที่ โรงแรมเมอร์เวนพิค สุขุมวิท 15
ราคา/ท่าน
|
Vat 7%
|
ราคารวม Vat
|
หัก ณ
ที่จ่าย 3%
|
ราคาหลังหัก
ณ ที่จ่าย
|
ราคาปกติ
|
4,000
|
280
|
4,280
|
120
|
4,160
|
สมาชิก,โอนก่อน 1 สัปดาห์
|
3,700
|
259
|
3,959
|
111
|
3,848
|
3 ท่านขึ้นไป
|
3,400
|
238
|
3,638
|
102
|
3,536
|
5 ท่านขึ้นไป
|
3,000
|
210
|
3,210
|
90
|
3,120
|
กรุณาดาวน์โหลดหลักสูตรและใบลงทะเบียนที่นี่ หรือกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มด้านล่างเพื่อลงทะเบียน