เอกชน โยกฐานผลิตไป มะริด-ทวาย หนีค่าจ้าง 300 บาท
ReadyPlanet.com
dot dot
bulletIn-house Training
bulletบริการจัดกิจกรรม Walk Rally
dot
ค้นหาหัวข้อ/หลักสูตรต่างๆ

dot
bulletวิทยากร
ค่าอบรมสัมมนาลดหย่อนภาษี 200%
dot
ใส่อีเมล์เพื่อรับข่าวสารสัมมนา

dot
dot
สถานที่จัดสัมมนา
dot
bulletโรงแรมเซนต์เจมส์ สุขุมวิท 26
bulletโรงแรมอไรซ์ สุขุมวิท ซ.26
bulletโรงแรมจัสมินซิตี้ สุขุมวิท ซ.23
bulletโรงแรมแกรนด์ สุขุมวิท ซ.4-6
bulletโรงแรมบูเลอวาร์ด สุขุมวิท ซ.5
bulletโรงแรมฮิป ซ.เนียมอุทิศ
bulletโรงแรมเดอะ พาลาซโซ
bulletแผนที่โรงแรมโกลด์ ออร์คิด
bulletศูนย์ประชุม เดอะคอนเน็คชั่น
bulletโรงแรมโนโวเทล สุขุมวิท ซ.20
bulletโรงแรมเอส 31 (สุขุมวิท 31)
bulletโรงแรม HOLIDAY INN BANGKOK
bulletโรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ แพลทินัม ประตูนั้ำ
bulletโรงแรม Rembrandt Hotel & Suites, Bangkok
bulletโรงแรมเมอเวนพิค สุขุมวิท 15 กรุงเทพฯ
dot
สมัครสมาชิก
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่ขณะนี้ คน
สมาชิกที่ Log in อยู่
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 24 คน
dot
หนังสือวรรณศิลป์/สมิต สัชฌุกร
หนังสือข้อคิดควรคำนึง/สมิต สัชฌุกร
รับสมัครวิทยากร
bulletหลักสูตร Public Training


บริการจัด Walk Rally, In-house Training ราคาพิเศษ
บริการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์
ค้นหาราชกิจจานุเบกษา

รูปแบบใหม่ของการทำกิจกรรม Outing และ Training
สัมมนาวิญญูชน
วิดีโอบรรยากาศการสัมมนา ของ เคเอ็นซี เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์
สแกนเพื่อติดต่อเคเอ็นซีทาง Line


เอกชน โยกฐานผลิตไป มะริด-ทวาย หนีค่าจ้าง 300 บาท

 

เอกชน โยกฐานผลิตไป มะริด-ทวาย หนีค่าจ้าง 300 บาท

Posted in: การปรับตัวกลยุทธ์ รับAEC   12 มกราคม 2556

ผลพวงจากการปรับค่าจ้าง 300 บาท ที่เริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2556 ที่ผ่านมา เริ่มเห็นเค้าลางวิกฤติแรงงานอีกระลอก เมื่อแรงงานไทยถูกนายจ้างลอยแพ กลายเป็นคนตกงานอย่างกะทันหัน ขณะที่ชายแดนประเทศไทย โดยเฉพาะฝั่งสหภาพเมียนมาร์หรือพม่า เริ่มมีแรงงานชาวพม่าและกะเหรี่ยง ลักลอบเข้าประเทศรับค่าจ้างที่ต่ำกว่าอัตราขั้นต่ำ

กลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท อย่างรุนแรงไม่พ้นผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น อาทิ กรณีปัญหาการประท้วงของพนักงานบริษัท วีณาการ์เมนต์ จำกัด ซึ่งผลิตชุดชั้นในตั้งอยู่ใน อ.วิหารแดง จ.สระบุรี จำนวน 285 คน เมื่อวันที่ 2 มกราคม ที่ผ่านมา เนื่องจากบริษัทปิดกิจการโดยไม่แจ้งล่วงหน้า นอกจากนั้นมีอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล ที่อยู่ในภาวะเสี่ยงคล้ายคลึงกัน

นายกฤษณะ เอี่ยมวงศ์นที ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดระนอง ยอมรับว่า ขณะนี้ผู้ประกอบการแปรรูปอาหารทะเลและอุตสาหกรรมต่อเนื่องประมงขนาดใหญ่จำนวน 32 โรงงานในจังหวัดระนอง เตรียมที่จะนาเครื่องจักรเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิตเพื่อทดแทนการใช้แรงงานคน แม้ว่าการนำเครื่องจักรเข้ามาใช้เป็นการลงทุนที่สูง แต่ในระยะยาวจะมีความคุ้มทุนมากกว่า

นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ประกอบการหลายรายกำลังหาทางที่จะย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะหลังปี 2558 ที่จะก้าวสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือAEC เงื่อนไขทางการค้าระหว่างประเทศที่ยุ่งยากจะน้อยลง ทั้งยังพบว่าอัตราค่าจ้างแรงงานในประเทศเพื่อนบ้านยังต่ำกว่าไทยมาก จังหวัดระนองถือเป็นฐานผลิตใหญ่ด้านแปรรูปอาหารทะเลมีโรงงานรวมกว่า 300 โรงงาน มีโรงงานขนาดใหญ่กว่า 80 โรงงาน มีการจ้างแรงงานคนไทยและต่างด้าวรวมกว่า 8 หมื่นคน

ที่ผ่านมา ปัญหาเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำทางสภาอุตสาหกรรม 14 จังหวัดภาคใต้ และผู้แทนสภาอุตสาหกรรมสายต่างจังหวัดรวม 74 จังหวัดได้พยายามเรียกร้องมาอย่างต่อเนื่องต่อกรณีที่ต้องการให้รัฐบาลเข้ามาช่วยเหลือส่วนต่างที่ปรับเพิ่มของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท โดยให้ใช้รูปแบบขั้นบันได โดยในปี 2556 นี้ ส่วนต่างที่ปรับเพิ่มจากอัตราเดิมเพิ่มเป็น 300 บาทนั้นให้ภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือในอัตรา 75:25

ส่วนในปี 2557 สัดส่วนการช่วยเหลือจากภาครัฐลดลงเหลือสัดส่วน 50 : 50 ในปี 2558 สัดส่วนการช่วยเหลือจากภาครัฐลดเหลือสัดส่วน 25:75 ส่วนในปี 2559 ทางผู้ประกอบการพร้อมที่จ่ายส่วนต่างที่เพิ่มขึ้นเองทั้งหมด ซึ่งข้อเรียกร้องดังกล่าวทางตัวแทนสภาอุตสาหกรรมทั่วประเทศได้เรียกร้องมาตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา แต่พบว่าไม่มีความเคลื่อนไหว หรือตอบสนองจากภาครัฐแต่ประการใด ทั้งยังมีการพยายามออกมาตรการต่างๆออกมาอย่างต่อเนื่องซึ่งเป็นมาตรการที่ไม่ตรงกับความต้องการ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดอยู่ในขณะนี้ได้เลย

นอกจากนี้ภาคเอกชนจังหวัดระนอง โดยเฉพาะผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมเตรียมหาช่องทางในการย้ายฐานการผลิตเข้าไปยังสหภาพเมียนมาร์เพิ่มมากขึ้นทั้งที่ จังหวัดเกาะสอง และใกล้เคียงรวมถึงในเขตนิคมอุตสาหกรรมทวายเขตส่งเสริมการลงทุนใหม่ของพม่า เพื่อแก้ไขวิกฤติปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และปัญหาค่าจ้างขั้นต่ำในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น

นางนฤมล ขรภูมิ ประธานหอการค้าจังหวัดระนอง กล่าวว่า โดยจากการที่นาธุรกิจจาก จ.ระนอง เข้าไปพบนักธุรกิจ นักลงทุนของพม่ารวมถึงภาครัฐที่เกี่ยวข้องพบว่ายังมีปัญหาเรื่องระบบสาธารณูปโภค และเงื่อนไขในการส่งเสริมการลงทุนของสหภาพเมียนมาร์ ซึ่งหากทางการเมียนมาร์มีการแก้ไขปัญหาทั้ง 2 เรื่องแล้วเสร็จ คาดว่าจะมีผู้ประกอบการจากไทยสนใจที่จะย้ายฐานการผลิตเข้าไปยังพม่าเป็นจำนวนมาก เพราะการย้ายฐานผลิตเข้าไปยังพม่าที่มีความพร้อมเรื่องแรงงาน ยังสามารถเชื่อมโยงการค้า การลงทุนกับนิคมอุตสาหกรรมทวายเขตเศรษฐกิจใหญ่ของเมียนมาร์ได้ง่ายขึ้น โดยขณะนี้พบว่ามีนักลงทุนจากหลายชาติได้ย้ายฐานการผลิตเข้าไปในเมียนมาร์เป็นจำนวนมากแล้ว ในขณะที่นักธุรกิจจากไทยยังมีน้อย

นายนิตย์ อุยเต็กเคง ประธานสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จังหวัดระนอง และอดีตประธานหอการค้า จังหวัด ระนอง กล่าวว่า จากแผนการเปิดนิคมอุตสาหกรรมทวาย ของสหภาพเมียนมาร์ บนพื้นที่กว่า 2 แสนไร่ ซึ่งคาดว่าในอนาคตจะเป็นย่านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สำคัญของพม่าทางตอนใต้ ทำให้ขณะนี้นักธุรกิจในจังหวัดระนองที่มีการค้าการลงทุนกับพม่ามายาวนาน เตรียมที่จะหาช่องทางที่จะเข้าไปลงทุนในเขตนิคมอุตสาหกรรมทวาย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการแปรรูปสัตว์น้ำ ซึ่งพบว่านักธุรกิจในจังหวัดระนองที่ปัจจุบันมีโรงงานกว่า 300 โรงงานกำลังให้ความสนใจและหาช่องทางที่จะเข้าไปลงทุน

ก่อนหน้านี้กระทรวงพาณิชย์ได้จัดงานมหกรรมการค้าชายแดนไทย-พม่า มาแล้วหลายครั้งส่งผลให้นักธุรกิจไทยและพม่าได้มีโอกาสพบปะพูดคุยและจับคู่ทางธุรกิจขึ้น (Business Matching) ระหว่างผู้ประกอบการไทยและพม่า ทำให้เป็นจุดเริ่มต้นต่อความร่วมมือที่จะตามมาในอนาคตโดยเฉพาะการร่วมลงทุนกับผู้ประกอบการพม่า เนื่องจากพบว่าขณะนี้ประเทศพม่ากำลังขยายการค้าการลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งขณะนี้ทางผู้ประกอบการ นักธุรกิจใน จ.ระนอง กำลังประสานไปยังภาคเอกชนของพม่าเพื่อที่จะเดินทางไปยัง จ.เกาะสอง ทวาย และมะริด เพื่อหาลู่ทางการค้าการลงทุนร่วมกันอีกครั้ง

พื้นที่ตอนใต้ของประเทศในย่านมะริดและทวาย กำลังจะกลายเป็นเขตพื้นที่เศรษฐกิจ, อุตสาหกรรมที่สำคัญของพม่าในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งพบว่านักธุรกิจพม่ายังคงมีความต้องการค้าขาย หรือ ร่วมทำธุรกิจกับนักธุรกิจไทยมากกว่านักธุรกิจในประเทศอื่น แต่การค้าขาย หรือทำธุรกิจร่วมกับนักธุรกิจไทยยังติดปัญหาหรือความหวาดระแวงต่อกัน ซึ่งสามารถขจัดได้ด้วยการพบปะพูดคุยกันบ่อยๆ หากทาได้ตนเชื่อว่าการค้าขายการลงทุนในย่านทางตอนใต้ของประเทศจะสามารถ ขยายตัวได้อีกมาก ทั้งยังเป็นช่องทางที่สำคัญที่นักธุรกิจไทยจะขยายการค้าการลงทุนเข้าไปยังประเทศพม่า

ผลจากการที่พม่ากำลังผลักดันนิคมอุตสาหกรรมทวาย ถือเป็นโอกาสที่ดีที่ จ.ระนอง จะผลักดันท่าเรือระนองเชื่อม โยงเส้นทางการขนส่งสินค้าไปยังเส้นทางดังกล่าวเนื่องจากจุดได้เปรียบที่อยู่ใกล้ที่สุด ซึ่งหากสามารถเชื่อมโยงกับท่าเรือทวายได้ก็จะเชื่อมโยงเข้าสู่เส้นทางการค้า การขนส่งทางทะเลฝั่งอันดามันได้

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ




บทความ

การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management)
บริการสำคัญอย่างไร ?
การหมุนเวียนงาน
การสัมภาษณ์สำหรับผู้บริหาร
การตัดสินใจ
การจัดทำขีดความสามารถ
การให้คำปรึกษาแนะนำ
การวิเคราะห์และแก้ปัญหา
การปรับปรุงกระบวนการ
การปฐมนิเทศพนักงานใหม่
การบริหารกิจกรรม 5ส
การบริหารทรัพยากรมนุษย์บนพื้นฐานของระบบความสามารถหลัก
การวางแผนกลยุทธ์
การทำงานเป็นทีม
ลดต้นทุนในองค์กร เรื่องที่ทุกคนต้องใส่ใจ
จุดแข็ง-จุดอ่อน-เบื้องต้น ของประเทศต่างๆใน AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
โหราศาสตร์ค้นหา 'Talent'
ปัญหาภาษีอากรสำหรับการประกอบกิจการขนส่ง ขนถ่ายสินค้า
เปิดคัมภีร์บริหารคน article
เทรนด์บริหารงาน HR ปี 2555 article
HR Trends 2013 article



Copyright © 2013 All Rights Reserved.