
เนื่องจากธุรกิจด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ ภาคอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์ นอกจากเราต้องดำเนินการ Set up ระบบต่างๆ เพื่อสนับสนุนให้สามารถทำการผลิตให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพตามที่ลูกค้าต้องการแล้วนั้น สิ่งหนึ่งที่ทุกบริษัทฯ จะมองข้ามไม่ได้ คือ สินค้าต้องปราศจากสารปนเปื้อนที่เป็นพิษและส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมและมนุษย์ นั่นก็คือสารเคมีที่จัดอยู่ในจำพวกสารโลหะหนักนั่นเอง อาทิ เช่น โครเมียม แคดเมียม ปรอท ตะกั่ว และอื่นๆ ซึ่งเป็นเรื่องยากถ้าผู้ประกอบการ ไม่มีความรู้ ความเข้าใจอย่างเพียงพอ เพราะนอกจากผู้ประกอบการจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบที่ว่าด้วยเรื่อง การจำแนกประเภทและการติดฉลากสารเคมีตามข้อกำหนดสากล ((Globally Harmonized System for Classification and Labeling of Chemicals, GHS) และการแสดงรายละเอียดข้อมูลความปลอดภัยบนเอกสาร (Safety Data Sheet : SDS) ของสารเคมีและเคมีภัณฑ์ เพื่อให้ใช้สื่อสารและมีความเข้าใจเกี่ยวกับอันตรายที่เกิดจากสารเคมีนั้นๆในทิศทางเดียวกัน และประเมินสารเคมีและมั่นใจว่าการใช้สารเคมีแต่ละประเภทจะถูกต้องตามที่ระบุ โดยไม่เกิดผลเสียหรืออันตรายต่อสุขภาพมนุษย์และสิ่งแวดล้อม และต้องสอดคล้องกับข้อกำหนดการควบคุมสารปนเปื้อน คือ SOC / ELV / RoHs 1.0 / RoHs 2.0 / REACH Annex VI / XV / XIV / AVII / SVHC / REACH For Packaging / PFOS / PFOA / DMF / VOC / MDA / SCCPs / POPs / Prop65 / ELV Annex II / ELV Waste Packaging Waste / Lead in Solder / CMR / GADSL / IMDS / IMDS-a2 / IMDS-AI / CAMDS / CDX etc. ข้อกำหนด 3R (Reuse / Recycle / Recovery) Recyclability และ Recoverability ตามข้อกำหนดมาตรฐาน ISO 22628, ข้อกำหนด Halogen Free (สินค้าไร้ฮาโลเจน) ตลอดจนข้อกำหนดสารเคมีชนิดอื่น ๆที่ทาง OEM และหน่วยงานที่ทำการควบคุมและบังคับใช้กฎหมาย ได้ประกาศฯ ควบคุม หรือ ห้ามใช้ ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่ทุกบริษัทฯ จะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ตลอดจนต่อไปในอนาคต IMDS : International Material Data System หรือ ระบบข้อมูลวัสดุสากล ซึ่งเป็นระบบที่สำคัญมากที่เข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมไฟฟ้า ดังนั้นทุกโรงงาน / บริษัท ไม่ว่าจะเป็นเทรดดิ้ง จำเป็นต้องดำเนินการทำข้อมูลในระบบนี้เพื่อ Support ให้กับคู่ค้าของตน ซึ่งทางผู้ผลิตจะต้องดำเนินการกรอกข้อมูลวัตถุดิบ ข้อมูลสารเคมี เข้าไปในระบบ IMDS และดำเนินการส่งให้คู่ค้าของตน แต่ปัญหาคือผู้ผลิตยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อกฎหมายซึ่งว่าด้วยเรื่องการควบคุมสารปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ ข้อกำหนดในกลุ่มประเทศทาง EU / Asia และข้อกำหนดในระบบ IMDS หากบริษัทฯใดไม่ดำเนินการจะถูกสั่งห้ามไม่ให้ทำการผลิต ห้ามส่งออกและซื้อขายสินค้าโดยเด็ดขาด
ผู้รับช่วงผลิตจะต้องแนบข้อมูล IMDS Report ในเอกสาร “อนุมัติชิ้นส่วนการผลิต (PPAP)” เพื่อเป็นการรับประคุณภาพผลิตภัณฑ์ของตัวเองว่าปราศจากสารปนเปื้อนและเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมาย ซึ่งผู้รับช่วงผลิต (Suppliers) ต้องไม่มีโอกาสผิดพลาดแม้แต่ครั้งเดียว เพราะนั่นหมายถึง องค์กรของท่านจะถูกย้ายเข้าไปอยู่ในบริษัทฯกลุ่มเสี่ยงที่อันตรายทันที และทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมหาศาล
หลักสูตรนี้ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ข้อกำหนดของกฎหมายด้านการควบคุมสารปนเปื้อน SOC / ELV / RoHs 1.0 / RoHs 2.1 / REACH Annex VI / XV / XIV / AVII / SVHC / REACH For Packaging / PFOS / PFOA / DMF / VOC / MDA / SCCPs / POPs / Prop65 / ELV Annex II / ELV Waste Packaging Waste / Lead in Solder / CMR / GADSL / IMDS / IMDS-a2 / IMDS-AI / CAMDS / CDX etc. ข้อกำหนด 3R (Reuse / Recycle / Recovery) Recyclability และ Recoverability ตามข้อกำหนดมาตรฐาน ISO 22628, ข้อกำหนด Halogen Free (สินค้าไร้ฮาโลเจน) ในผลิตภัณฑ์ภาคทฤษฎี เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำกลับไปประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์ขององค์กรได้อย่างถูกต้อง
วัตถุประสงค์ในการฝึกอบรม
1. เพื่อให้เข้าใจเป้าหมาย ข้อกำหนดและความสำคัญพื้นฐานด้าน GHS & SDS
2. เพื่อให้เข้าใจเป้าหมายการควบคุมสารปนเปื้อน (SOC) ในผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดในภาคอุตสาหกรรม
3. เพื่อให้เข้าใจขั้นตอนและวิธีการดำเนินการควบคุมสารต้องห้ามหรือสารเคมีอันตราย (SOC) ในผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมและมนุษย์ในผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องและเป็นไปตามข้อกำหนดของภาคอุตสาหกรรม
4. เพื่อให้สามารถกรอกข้อมูลและจัดทำรายงานการควบคุมสารปนเปื้อน (SOC) ในผลิตภัณฑ์ได้อย่างถูกต้องตามหลักข้อกฎหมายและมาตรฐานสากล
5. เพื่อให้เข้าใจหลักการและการดำเนินการด้านการจัดการควบคุมสารต้องห้ามหรือสารเคมีอันตราย (SOC) ในผลิตภัณฑ์ในองค์กรให้สอดคล้องกับข้อกำหนดข้อกฎหมายได้
เนื้อหาหลักสูตร
· หลักการและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องในการควบคุมสารปนเปื้อนผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยานยนต์
§ ข้อกำหนดวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment : LCA)
§ ข้อกำหนด Carbon Footprint for Product : CFP
§ ข้อกำหนด Carbon Footprint for Organization : CFO
§ ข้อกำหนดการจัดการควบคุมข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับ ISO 50001
§ ข้อกำหนดและความสำคัญพื้นฐานด้าน GHS & SDS
§ การจำแนกประเภทและการติดฉลากสารเคมีตามข้อกำหนดสากล (GHS)
§ การแสดงรายละเอียดของสารเคมีบนเอกสารข้อมูลความปลอดภัย (SDS)
· หลักการและข้อกำหนดในการควบคุมสารปนเปื้อนผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยานยนต์
§ SOC / ELV / RoHs 1.0 / RoHs 2.1 /
§ REACH Annex VI / XV / XIV / AVII / SVHC Regulatory and control
§ REACH For Packaging Regulatory and control
§ PFOS / PFOA / DMF / VOC / MDA / SCCPs / POPs / Prop65 / ELV Annex II / ELV Waste Packaging Waste / Lead in Solder / CMR / GADSL /
§ ข้อกำหนด 76/769/EC
- สูตรและหลักในการคำนวณปริมาณสารเคมีกลุ่มเสี่ยงสูง SVHC ในผลิตภัณฑ์
- สูตรและหลักในการคำนวณปริมาณสารเคมีกลุ่ม Wild card / Joker (Misc., not to declare) ในผลิตภัณฑ์
· ข้อกำหนด Halogen Free (สินค้าไร้ฮาโลเจน)
§ IMDS / IMDS-a2 / IMDS-AI / CAMDS / CDX etc. ข้อกำหนด 3R (Reuse / Recycle / Recovery) Recyclability และ Recoverability ตามข้อกำหนดมาตรฐาน ISO 22628
· ขั้นตอนการจัดทำ Organization SOC เพื่อยื่นขออนุมัติ
· การดำเนินการวางระบบ QMS การควบคุมสารปนเปื้อนในองค์กร
· การดำเนินการควบคุม SOC กับผู้รับจ้างช่วงผลิต (Suppliers)
· การจัดทำ Flow chart การจัดการความผิดปกติ เกี่ยวกับเรื่อง SOC
· การทบทวนระเบียบปฏิบัติการเรื่องการควบคุมการเปลี่ยนแปลงด้าน SOC ระหว่างลูกค้า และ Suppliers
· บทบาทหน้าที่ การดำเนินการและความสำคัญของแต่ละส่วนงาน
· การดำเนินการควบคุมตรวจและทดสอบ SOC ภายในและภายนอกองค์กร
· การควบคุมผู้ส่งมอบ วิธีการดำเนินการ กรณีที่ผู้ขายไม่ให้เข้าไปตรวจประเมิน
· การดำเนินการ Audit Suppliers ด้าน SOC
· การจัดทำรายงานการควบคุมสารปนเปื้อนตามมาตรฐานสากลเพื่อยื่นอนุมัติ
· ข้อกำหนด 3 R (Reuse / Recycle / Recovery)
วิธีการฝึกอบรม
1. การบรรยายสื่อสาร 2 ทาง โดยทฤษฎี 60 % ปฏิบัติ 40 %
2. ทำ Workshop กิจกรรมกลุ่ม
ระยะเวลา: หลักสูตร 1 วัน (6 ชั่วโมง)
วิทยากร : อาจารย์พิทักษ์ บุญชม
ประวัติการศึกษา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สาขา วิศวกรรมเครื่องกล
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตขอนแก่น (ไทย – เยอรมัน) สาขา เครื่องกล
ประสบการณ์ด้านโรงงานอุตสาหกรรม
ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายควบคุมและประกันคุณภาพ บริษัท YOUNGSIN METAL (THAILAND)
หัวหน้าทีมวิศวกรอาวุโสฝ่ายควบคุมและประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์ใหม่ บริษัท มาสด้า พาวเวอร์เทรน แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด
หัวหน้าฝ่ายประกันและควบคุมคุณภาพ บริษัท แอดวิคส แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด
หัวหน้าฝ่ายวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และควบคุมคุณภาพ บริษัท มาคิตะ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด
หัวหน้าฝ่ายประกันและควบคุมคุณภาพ บริษัท ปัญจวัฒนาพลาสติก จำกัด (มหาชน)
หัวหน้าโครงการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ และรักษาการหัวหน้าแผนกประกันคุณภาพ บริษัท สุภาวุฒิ อินดัสทรี จำกัด
หัวหน้าแผนกควบคุมคุณภาพ บริษัท ไทเซอิ พลาส (ประเทศไทย) จำกัด
หัวหน้าแผนกประกันและควบคุมคุณภาพ บริษัท เอสเจ มิโครน จำกัด
วิศวกรฝ่ายประกันคุณภาพ บริษัท อินเนอร์ยี่ ออโตโมทิฟ ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด
วิศวกรฝ่ายควบคุมคุณภาพและระบบการควบคุมสารปนเปื้อนในอุสาหกรรมยานยนต์ (SOC, ELV, RoHS, REACH – SVHC, IMDS, PFOS, PFOA, DMF, Etc.) บริษัท ไทยซัมมิท มิทซูบะ อิเล็กทริค แมนูแฟคเจอริ่ง จากัด
วิศวกรโรงงานฝ่ายควบคุมคุณภาพ บริษัท เอ็น ซี ไอ จำกัด
วิศวกรเครื่องกล บริษัท บิลเลี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
วิศวกรที่ปรึกษาด้านการอนุรักษ์พลังงานหม้อไอน้ำ บริษัท มาสเตอร์ คอม เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
ประสบการณ์ฝึกอบรมต่างประเทศ
ศึกษาดูงาน / ฝึกอบรมหลักการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ขั้นสูงและเทคนิคการวิเคราะห์ปัญหาและเทคนิคการวิเคราะห์ปัญหา หาสาเหตุผลิตภัณฑ์ขั้นสูง ที่บริษัท มาสด้า คอร์ปอเรชั่น ณ ประเทศญี่ปุ่น เป็นเวลา 4 เดือน
ศึกษาดูงาน / ฝึกอบรมหลักการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ขั้นสูงที่บริษัท ยังซิน เมทัล จำกัด ณ ประเทศเกาหลีใต้
ฝึกอบรม หัวข้อระบบวัสดุสากลขั้นพื้นฐานและขั้นสูง Basic & Advance International Material Data System (IMDS), REACH / RoHS, Conflict Mineral, Carbon Footprint for Organization : CFO, Carbon Footprint for Product : CFP, Life Cycle Assessment : LCA, ISO 50001 อนุรักษ์พลังงาน ENSYS, EnMS ณ ประเทศอินเดีย
ประสบการณ์ด้านวิทยากรที่ปรึกษา หัวข้อ : International Material Data System (IMDS), การวิเคราะห์ปัญหางาน, ภาวะผู้นำ, อนุรักษ์พลังงาน, การสร้างพนักงานคุณภาพในองค์กร, การควบคุมคุณภาพ, ระบบการควบคุมสารปนเปื้อนในอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิคส์ อุตสาหกรรมไฟฟ้า ให้กับโรงงานและบริษัทฯ เป็นจำนวนมาก
กำหนดการ วันพุธที่ 25 มิถุนายน 2568 เวลา 09.00-16.00 น.
สถานที่ โรงแรมเมอเวนพิค สุขุมวิท 15
ราคา/ท่าน
|
Vat 7%
|
ราคารวม Vat
|
หัก ณ
ที่จ่าย 3%
|
ราคาหลังหัก
ณ ที่จ่าย
|
ราคาปกติ
|
4,000
|
280
|
4,280
|
120
|
4,160
|
สมาชิก,โอนก่อน 1 สัปดาห์
|
3,700
|
259
|
3,959
|
111
|
3,848
|
3 ท่านขึ้นไป
|
3,400
|
238
|
3,638
|
102
|
3,536
|
5 ท่านขึ้นไป
|
3,000
|
210
|
3,210
|
90
|
3,120
|
กรุณาดาวน์โหลดหลักสูตรและใบลงทะเบียนที่นี่ l หรือกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มด้านล่างเพื่อลงทะเบียน