หลักการและเหตุผล
เนื่องจากในปัจจุบันอุณหภูมิของโลกได้สูงขึ้นเรื่อยๆ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในแต่ละพื้นที่นับวันจะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น การควบคุมปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปลดปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์ไปสู่บรรยากาศของโลกจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ภาคอุตสาหกรรมการผลิตต้องรายงานปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์หรือตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์เหล่านั้น ว่ามีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาปริมาณเท่าไหร่
ผู้รับจ้างช่วงผลิต (Suppliers / Makers) ทุกระดับในห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมยานยนต์ จะต้องทำความคุ้นเคยเตรียมความพร้อมกับกลไก การคำนวณปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์สำหรับความต้องการของลูกค้าที่กำลังจะมาถึง ตามลำดับแบบ B2B (Tier… to Tier…) โดยรายงานผ่านแพลตฟอร์ม (Platform) “ระบบรายงานข้อมูลวัสดุสากล” “International Material Data System (IMDS)” ซึ่งคาดว่าจะเริ่มในช่วงไตรมาส 4 (Q4) ปี 2567 โดยคาดหมายจะใช้ข้อมูล Products Carbon Footprint (PCF) จากการคำนวณ และคาดหมายการใช้ข้อมูล Products Carbon Footprint (PCF) ที่มาจากการเก็บบันทึกจริงในช่วง ไตรมาส 1 (Q1) ปี 2568 เป็นต้นไป
ดังนั้นกิจกรรมต่างๆ ต้องสอดคล้องกันซึ่งจะต้องจัดทำขึ้นโดยผ่านการกระทำที่อ้างถึงในข้อกำหนดโดยละเอียดตามขั้นตอนตลอดวงจรวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ดังต่อไปนี้:
§ การจัดหาวัตถุดิบและการแปรรูป (Raw material acquisition and pre-processing)
§ การผลิต (Production)
§ การกระจายสินค้า / การขนส่งผลิตภัณฑ์ (Distribution)
§ การใช้งาน (Use) / การบริโภค (Goods Consumption)
§ การจัดการของเสียเมื่อสิ้นสุดอายุการใช้งาน / การกำจัดซาก / การจัดการขยะ / การจัดการของเสีย (End of life)
ผู้รับจ้างช่วงผลิต (Suppliers / Makers) ทุกระดับจะต้องตีความและจำแนกประเภทวัสดุ (วัตถุดิบ) Material Classification ได้ถูกต้องเพื่อลดความผิดพลาดในการรายงานข้อมูลวัสดุที่ใช้ในการผลิตชิ้นส่วนให้กับคู่ค้าของตน
วัตถุประสงค์
1. เข้าใจเป้าหมายและแนวทางการคำนวณปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ Products Carbon Footprint (PCF) เพื่อรายงานในระบบรายงานข้อมูลวัสดุสากล International Material Data System (IMDS) ในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนไฟฟ้า – อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในรถยนต์ ได้อย่างถูกต้อง
2. สามารถตีความและจำแนกประเภทวัสดุ Material Classification ในระบบรายงานข้อมูลวัสดุสากล International Material Data System (IMDS) ในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนไฟฟ้า – อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในรถยนต์ ได้อย่างถูกต้อง
หัวข้อการสัมมนา
· ความรู้ด้านการควบคุมสารปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์
· การวิเคราะห์ความเสี่ยงของปริมาณสารเคมีต้องห้ามในผลิตภัณฑ์
· การคำนวณปริมาณสารเคมีกลุ่ม Confidential substances
- Misc., not to declare substances groups
- Wildcard / Joker substances groups
- SVHC substances groups
· Introduction and overview material reporting in Automotive Industry
- International Material data System (IMDS)
- Material classification
· Interpretation of Material classification
- Material classification 1.X - 4.X
· Interpretation of Material classification
- Material Classification 5.X - 9.X
· Introduction and overview of Products Carbon Footprint (PCF)
- Introduction และประเภทของคาร์บอนฟุตพริ้นท์
- แนวทางการจัดการ Carbon Footprint ในองค์กร
· Products Carbon Footprint (PCF) (ต่อ)
- การเขียนแผนผังและ Flow วัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์
- Flow รูปแบบการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์
- ค่า Emission Factor แบ่งตามประเภทกลุ่มอุตสาหกรรม
- หลักการและขั้นตอนการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์
- การรายงานและการจัดการปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
· กิจกรรมกรณีศึกษา
- การคำนวณปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ Products Carbon Footprint (PCF)
วิทยากร : อาจารย์พิทักษ์ บุญชม
ประวัติการศึกษา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สาขา วิศวกรรมเครื่องกล
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตขอนแก่น (ไทย – เยอรมัน) สาขาเครื่องกล
ประสบการณ์ด้านโรงงานอุตสาหกรรม
ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายควบคุมและประกันคุณภาพ บริษัท YOUNGSIN METAL (THAILAND)
หัวหน้าวิศวกรอาวุโสฝ่ายประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์ใหม่ บริษัท มาสด้า พาวเวอร์เทรน แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด
หัวหน้าฝ่ายประกันและควบคุมคุณภาพ บริษัท แอดวิคส แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด
หัวหน้าฝ่ายวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และควบคุมคุณภาพ บริษัท มาคิตะ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด
หัวหน้าฝ่ายประกันและควบคุมคุณภาพ บริษัท ปัญจวัฒนาพลาสติก จำกัด (มหาชน)
หัวหน้าโครงการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ และรักษาการหัวหน้าแผนกประกันคุณภาพ บริษัท สุภาวุฒิ อินดัสทรี จำกัด
วิศวกรฝ่ายควบคุมคุณภาพและระบบการควบคุมสารปนเปื้อนในอุสาหกรรมยานยนต์ (SOC, ELV, RoHS, REACH – SVHC, IMDS, PFOS, PFOA, DMF, Etc.) บริษัท ไทยซัมมิท มิทซูบะ อิเล็กทริค แมนูแฟคเจอริ่ง จากัด
ประสบการณ์ฝึกอบรมต่างประเทศ
ศึกษาดูงาน / ฝึกอบรมหลักการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ขั้นสูงและเทคนิคการวิเคราะห์ปัญหาและเทคนิคการวิเคราะห์ปัญหาหาสาเหตุผลิตภัณฑ์ขั้นสูง ที่บริษัท มาสด้า คอร์ปอเรชั่น ณ ประเทศญี่ปุ่น เป็นเวลา 4 เดือน
ศึกษาดูงาน / ฝึกอบรมหลักการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ขั้นสูงที่บริษัท ยังซิน เมทัล จำกัด ณ ประเทศเกาหลีใต้ เป็นเวลา 45 วัน
ฝึกอบรม หัวข้อระบบวัสดุสากลขั้นพื้นฐานและขั้นสูง Basic & Advance International Material Data System (IMDS), REACH/RoHS, Conflict Mineral, Carbon Footprint for Organization : CFO, Carbon Footprint for Product : CFP, Life Cycle Assessment : LCA, ISO 50001 อนุรักษ์พลังงาน ENSYS, EnMS ณ ประเทศอินเดีย
ประสบการณ์ด้านวิทยากรที่ปรึกษา หัวข้อ : International Material Data System (IMDS) และข้อกำหนดการควบคุมสารปนเปื้อนในอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมไฟฟ้า ให้กับโรงงานและบริษัทฯ เป็นจำนวนมาก
กำหนดการ วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม 2567 เวลา 09.00 -16.00 น.
สถานที่ โรงแรมเมอเวนพิค สุขุมวิท 15 กรุงเทพฯ
ราคา/ท่าน
|
Vat 7%
|
ราคารวม Vat
|
หัก ณ
ที่จ่าย 3%
|
ราคาหลังหัก
ณ ที่จ่าย
|
ราคาปกติ
|
4,000
|
280
|
4,280
|
120
|
4,160
|
สมาชิก,โอนก่อน 1 สัปดาห์
|
3,700
|
259
|
3,959
|
111
|
3,848
|
3 ท่านขึ้นไป
|
3,400
|
238
|
3,638
|
102
|
3,536
|
5 ท่านขึ้นไป
|
3,000
|
210
|
3,210
|
90
|
3,120
|
กรุณาดาวน์โหลดหลักสูตรและใบลงทะเบียนที่นี่ หรือกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มด้านล่างเพื่อลงทะเบียน