หลักการและเหตุผล
แนวปฏิบัติเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้การดำเนินการตามกฎหมายเป็นไปอย่างสมเหตุสมผล ซึ่งกฎหมายโดยทั่วไปแล้วจะบัญญัติไว้เพียงในระดับที่กำหนด “การห้าม” เป็นหลักการไว้เท่านั้น แต่ในขั้นตอนปฏิบัติย่อมไม่สามารถระบุรายละเอียดวิธีการได้โดยสมบูรณ์ จึงมีคำถามเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติว่าควรทำ “อย่างไร” เพื่อให้องค์กรสามารถดำเนินกิจการให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้
ดังนั้น จำเป็นจะต้องเตรียมความพร้อมเพื่อให้มีความเข้าใจและปฏิบัติให้ถูกต้องตามสิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบตามกรอบกฎหมายฉบับนี้
วัตถุประสงค์ในการฝึกอบรม
1. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและสาระสำคัญของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
2. เพื่อสร้างความเข้าใจในกระบวนการเตรียมความพร้อมขององค์กร เพื่อให้สอดคล้องกับเงื่อนไขตามกฎหมาย
3. สามารถจัดทำแนวปฏิบัติเพื่อการประเมินความเสี่ยง/ผลกระทบด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ตามของเขต DPIA และ ทบทวน (Review) การปฏิบัติภายในองค์กร ว่ามีความเพียงพอหรือสอดคล้องตามกฎหมายแล้วหรือไม่
4. สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ งานฝ่ายขายและการตลาดงานด้านทรัพยากรบุคคล, งานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ, งานด้านจัดซื้อจัดจ้าง และอื่นๆ
หัวข้อการอบรม
1. เหตุผลและความเป็นมาของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562
2. สาระสำคัญของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
· ข้อมูลส่วนบุคคลคืออะไร และใครคือเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
· ตัวบุคคลและบทบาทหน้าที่ของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) และเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO)
· สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และการใช้สิทธิต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด
· หลักการขอความยินยอม - การเก็บ - การใช้ - การเปิดเผย ข้อมูลส่วนบุคคล
· ฐานในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
· มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลตามที่กฎหมายกำหนด
· แนวปฏิบัติในการโอนหรือส่งข้อมูลส่วนบุคคลไปต่างประเทศ
· ความรับผิดและบทลงโทษตามกฎหมาย ทั้งทางแพ่ง - ทางอาญา – โทษทางปกครอง
· แนวทางปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล
3. ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมกับ 15 ภารกิจที่องค์กรต้องดำเนินการ
4. แนวทางการจัดทำ Privacy Policy และ Privacy Notice
5. การจัดเตรียมเอกสารและแบบฟอร์มต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับ PDPA อาทิ
· บันทึกรายการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Record of Processing Activities)
· หนังสือให้ความยินยอม (Consent From)
· ข้อตกลงประมวลผลข้อมูล (Data Processing Agreement)
· คำร้องขอใช้สิทธิต่างๆ ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Request Form)
· หนังสือตอบกลับการใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject Rights Responding)
· หนังสือแจ้งเหตุ การละเมิดข้อมูลส่วนบุคล (Personal Data Breach Notification)
6. แนวการทบทวน (Review) การปฏิบัติภายในองค์กร ว่ามีความเพียงพอหรือสอดคล้องตามมาตรฐานการจัดการเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลหรือไม่
7. แนวปฏิบัติการประเมินผลกระทบด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล DPIA (Data Protection Impact Assessment) และการวิเคราะห์ความเสี่ยง/มาตรการจัดการความเสี่ยง
8. การเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติของฝ่ายขายและการตลาด (Guideline for Marketing and Sales)
· ความสัมพันธ์ของการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลและการทำการตลาด
· ลักษณะของข้อมูลส่วนบุคคลตามเส้นทางการทำการตลาด
· ฐานการประมวลผลที่เกี่ยวข้องและข้อควรระวัง
· ลักษณะงานการขายและการตลาดที่เกี่ยวข้อง อาทิ การขายตรง (Direct Sales)
การส่งเสริมการขาย (Promotion) การใช้ข้อมูลเครือข่ายสังคม (Social Network) เป็นต้น
9. การเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติตาม พรบ. ของฝ่ายจัดซื้อจัดจ้าง (Guideline for Procurement Department)
· แนวทางการจัดซื้อจัดจ้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ (New Procurement) ทั้ง ก่อนทำสัญญา การทำสัญญา และหลังการทำสัญญา
· แนวทางการจัดการสัญญาจัดซื้อจัดจ้างที่มีผลบังคับใช้แล้ว (Existing Procurement) อาทิ การเตรียมการก่อนการแก้ไขปรับปรุงสัญญา การแก้ไขปรับปรุงสัญญา
10. การเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติตาม พรบ. ของฝ่าย HR (Guideline for HR Department)
· แนวปฏิบัติในการเตรียมความพร้อมตั้งแต่การรับสมัครงานจนถึงการเลิกสัญญาจ้าง
· การปรับปรุงข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน / สัญญาจ้าง / ใบสมัครงาน และจัดทำแบบฟอร์มเอกสาร PDPA ที่ต้องมีใช้ในการดำเนินงานด้าน HR
· แนวทางร่างนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับพนักงาน (HR Privacy Policy)
11. แนวปฏิบัติสำหรับฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ (Guideline for IT Department
· งานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
· การบริหารสถาปัตยกรรมการพัฒนาระบบเพื่อช่วยสนับสนุนการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
· การพัฒนาระบบที่คำนึงถึงการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
· การเฝ้าระวังและแจ้งเตือนเหตุการณ์ที่กระทบกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
12. สารพันปัญหาในการปฏิบัติที่เกี่ยวกับ PDPA พร้อมแนวทางแก้ไข ของแต่ละฝ่ายงาน
คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม
นายจ้าง หน่วยงานด้านการตลาดและขาย ทรัพยากรบุคคล เทคโนโลยีสารสนเทศ จัดซื้อจัดจ้าง หัวหน้าหน่วยงาน และเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้อง
วิทยากรในการฝึกอบรม อาจารย์พงศา บุญชัยวัฒนโชติ
- อดีตกรรมการบริหารองค์กร และผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคล ขององค์กรชั้นนำหลายแห่ง
- ประสบการณ์งานบริหารทรัพยากรบุคคลและองค์กรมากกว่า 30 ปี อาทิ
· Plantheon Group Companies.
· CIMB Thai Bank, Co.,LTD.
· Thai Glass Industry, Co.,LTD.
· Mahaphant Fibre Cement, Co.,LTD.
· TOYOTA Leasing (Thailand), Co.,LTD.
- ปัจจุบันเป็นวิทยากร อาจารย์ ที่ปรึกษา ด้านบริหารองค์กรและทรัพยากรบุคคล ให้กับองค์กรต่างๆ
- ผลงานเขียน : หนังสือ HRMBA “จุดประกายความคิด เสริมอาวุธการบริหารคน” หนังสือ SMART JD “คำบรรยายลักษณะงานที่กระชับ ฉลาด ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย”
กำหนดการ วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม 2567 เวลา 09.00-16.00 น.
สถานที่ โรงแรมเมอเวนพิค สุขุมวิท 15 กรุงเทพฯ
ราคา/ท่าน
|
Vat 7%
|
ราคารวม Vat
|
หัก ณ
ที่จ่าย 3%
|
ราคาหลังหัก
ณ ที่จ่าย
|
ราคาปกติ
|
4,000
|
280
|
4,280
|
120
|
4,160
|
สมาชิก,โอนก่อน 1 สัปดาห์
|
3,700
|
259
|
3,959
|
111
|
3,848
|
3 ท่านขึ้นไป
|
3,400
|
238
|
3,638
|
102
|
3,536
|
5 ท่านขึ้นไป
|
3,000
|
210
|
3,210
|
90
|
3,120
|
หมายเหตุ
– ค่าลงทะเบียน รวมค่าเอกสาร, อาหาร เครื่องดื่ม น้ำชา กาแฟ
– ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมสัมมนาสามารถหักลดหย่อนภาษีได้ 200%
กรุณาดาวน์โหลดหลักสูตรและใบลงทะเบียนที่นี่ หรือกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มด้านล่างเพื่อลงทะเบียน