
หลักการและเหตุผล
เมื่อมีการผลิตก็ย่อมจะต้องมีของเสียจากการผลิตเกิดขึ้น ซึ่งของเสียของแต่ละกระบวนการผลิตจะถูกกำหนดขึ้น ตามความเหมาะสมจากการเก็บข้อมูลตัวเลขสถิติการผลิตและคำนวณออกมาเป็นต้นทุนการผลิตเพื่อให้หัวหน้างาน คนทำงาน ได้ถือเป็นเป้าหมายรายบุคคล รายแผนก รายฝ่าย เพื่อทำการควบคุมการทำงานในแต่ละวัน ควบคมุการผลิตในแต่ละ order ให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
ปัญหาของเสียที่เกิดจากการผลิต จะมีทั้งที่มองเห็น ที่มองไม่เห็น และที่จับต้องได้ ที่จับต้องไม่ได้ ทั้งหมดนี้จึงต้องใช้การสังเกต (การมองด้วยตา) การใช้ข้อมูล (ตัวเลข) การคิดวิเคราะห์ ซึ่งของเสียในกระบวนการผลิต เช่นเกิดความเสียหายต่อวัตถุดิบ เกิดความเสียหายต่อชิ้นงาน เกิดชิ้นงานชำรุดบกพร่อง ก่อให้เกิดความล่าช้าในการผลิต การส่งมอบไม่ทันกำหนด และต้นทุนสินค้าสูงขึ้น
หลักสูตรนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ให้ความเข้าใจ ให้มุมมองและเทคนิคเกี่ยวกับการลดของเสียต่างๆ ในกระบวนการผลิต เพื่อการลดต้นทุนการผลิต และสามารถส่งมอบสินค้าได้ทันตามกำหนด เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน
วัตถุประสงค์ในการฝึกอบรม
· เพื่อให้ผู้เรียน ได้ทำความเข้าใจและมองเห็นภาพของความสูญเสียได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
· เพื่อให้ผู้เรียน ได้มีเทคนิคในการสังเกตความสูญเสียรูปแบบต่างๆ ในกระบวนการทำงานและจัดการได้อย่างเป็นรูปธรรม
· เพื่อให้ผู้เรียน ได้คิด ทำ นำเสนอ อย่างเป็นระบบ
หัวข้อการอบรม
A: การสร้างจิตสำนึกการลดของเสียในกระบวนการผลิต
· แนวคิดในการทำกำไรของธุรกิจ
· จิตสำนึกความเป็นเจ้าของกับการลดของเสีย
B: พื้นฐานและแนวคิดการลดของเสียในกระบวนการผลิต
· แนวคิดการบริหารงานสมัยใหม่
· วงจรการควบคุมผลิตภัณฑ์ SDCA และวงจรปรับปรุงผลิตภัณฑ์ PDCA
· ความหมายและประเภทของเสีย (Sporadic & Chronic Waste)
· ของเสียในมิติของความบกพร่อง (Defect)
· ของเสียในมิติของความไม่ตรงตามข้อกำหนด (NC-nonconformity)
· ประเภทของเสียตามกระบวนการ (SIPOC)
Workshop: การค้นหาของเสียในกระบวนการผลิต
C: เครื่องมือและเทคนิคการลดของเสียในกระบวนการผลิต
· เครื่องมือควบคุมคุณภาพ (7 QC Tools)
· การวิเคราะห์รากสาเหตุของปัญหา (Root Cause Analysis-RCA)
· การกำหนดมาตรการแก้ปัญหา (Corrective Action Plan-CAP)
Workshop: การวิเคราะห์หาสาเหตุและกำหนดมาตรการแก้ไข
D: ระบบการป้องกันความผิดพลาด POKA YOKE
· POKA YOKE คืออะไร
· ทำไม POKA YOKE จึงสำคัญ
· แนวคิดสำคัญของระบบการป้องกันความผิดพลาด
· เทคนิคการป้องกันความผิดพลาด
· ตัวอย่างความผิดพลาด และแนวคิดการป้องกันความผิดพลาด
Workshop: POKA YOKE
ระยะเวลา : หลักสูตร 1 วัน (6 ชั่วโมง)
เทคนิคการฝึกอบรม
เน้นกิจกรรมที่ให้ผู้เข้าอมรม ได้ร่วมคิดร่วมทำ ที่ตรงตามการนำไปใช้กับการทำงานจริง
- บรรยาย 50 %
- การฝึกปฏิบัติ กิจกรรมกลุ่ม การนำเสนอ และ Feedback 50 %
หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ ผู้จัดการ, หัวหน้างานทุกระดับ
วิทยากรในการฝึกอบรม : อาจารย์ศักดิ์ดา กรรณนุช
ที่ปรึกษาส่วนบุคคล วิทยากร ด้านการผลิต
มีประสบการณ์ด้านการผลิตรวมมากกว่า 25 ปี ทำให้ได้มีโอกาส ทำงาน กับคนหลากหลายประเภท เข้าใจความต้องการของทั้งคน และเข้าใจทั้งงาน ทุกระดับ เพราะได้เติบโต มาทาง สายโรงงาน ตั้งแต่เป็นพนักงานฝ่ายผลิต เป็นหัวหน้างาน เป็นผู้ จัดการฝ่ายผลิต และฝ่ายบริหารโครงการ รวม 15 ปี กับบริษัทสวารอฟสกี้ เจมสโตนส์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำระดับโลกทางด้านอัญมณี ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาและวิทยากร อิสระ
การศึกษา
ปริญญาโท : มหาวิทยาลัยรังสิต - การบริหารจัดการธุรกิจ SMEs
ปริญญาตรี : วิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ – การบริหารจัดการทั่วไป
ประสบการณ์ทำงาน
- ผู้จัดการฝ่ายวางแผนและพัฒนาการผลิต (Head of Production Development)
- ผู้แทนขายสินค้าประดับยนต์ (Sale Executive)
- หัวหน้าแผนกผลิต (Production Supervisor)
กำหนดการ วันอังคารที่ 24 มิถุนายน 2568 เวลา 09.00-16.00 น.
สถานที่ โรงแรมเมอเวนพิค สุขุมวิท 15
ราคา/ท่าน
|
Vat 7%
|
ราคารวม Vat
|
หัก ณ
ที่จ่าย 3%
|
ราคาหลังหัก
ณ ที่จ่าย
|
ราคาปกติ
|
4,000
|
280
|
4,280
|
120
|
4,160
|
สมาชิก,โอนก่อน 1 สัปดาห์
|
3,700
|
259
|
3,959
|
111
|
3,848
|
3 ท่านขึ้นไป
|
3,400
|
238
|
3,638
|
102
|
3,536
|
5 ท่านขึ้นไป
|
3,000
|
210
|
3,210
|
90
|
3,120
|
กรุณาดาวน์โหลดหลักสูตรและใบลงทะเบียนที่นี่ หรือกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มด้านล่างเพื่อลงทะเบียน