พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 (ฉบับที่ 1) มีผลบังคับใช้มากว่า 20 ปีแล้ว และมีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมมาแล้วหลายครั้ง อาทิเช่น ออก พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2560) ได้แก้ไขเพิ่มเติมกว่า 10 ประเด็น พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2562) มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในอีกหลายประเด็น ที่มีผลต่อสิทธิหน้าที่ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง และล่าสุด ได้มีการประกาศใช้ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2566) ให้สิทธิลูกจ้างปฏิเสธการติดต่อนอกเวลางาน “Work From Anywhere” เริ่มวันที่ 18 เมษายน 2566 นี้
ปัจจุบันยังมีนายจ้างหลายราย ยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน อันเนื่องมาจากมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงมาหลายฉบับ หรือมีการปรับเปลี่ยนผู้รับผิดชอบ จึงขาดความต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดปัญหาและความเสียหายในภายหลัง หลักสูตรนี้จึงจัดขึ้นมาเพื่อสรุปรวบรวมประเด็นสำคัญตั้งแต่ ฉบับแรก จนถึงฉบับล่าสุด เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจอย่างต่อเนื่องในทุกฉบับอยู่ในหลักสูตรเดียว
วัตถุประสงค์
1. ผู้เข้าอบรม ได้รู้และเข้าใจ ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานทุกฉบับ
2. ผู้เข้าอบรม ได้รู้และเข้าใจ ประเด็นที่เปลี่ยนแปลงและที่กำลังจะเปลี่ยนแปลง
3. ผู้เข้าอบรมเข้าใจเจตนารมณ์ และ การปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน และสามารถนำมาประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. สามารถให้คำปรึกษาและแนะนำแก่ผู้บริหารและหัวหน้างาน ในการปฏิบัติได้อย่างถูกต้องสอดคล้องกับกฎหมาย
เนื้อหาหลักสูตร
1. แนวทางการบริหารงานบุคคล ยุคใหม่ให้สอดคล้องกับทิศทางขององค์กร
2. สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของ นายจ้าง ลูกจ้าง หัวหน้างาน ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
3. สรุปสาระสำคัญของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ตั้งแต่ฉบับที่ 1 ถึงฉบับที่ 4 ที่ประกาศใช้มานานแล้ว
4. สรุปสาระสำคัญของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2560 อาทิ
· การใช้แรงงานเด็กและเพิ่มเติมบทลงโทษนายจ้าง
5. สรุปสาระสำคัญของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2560 อาทิ
· บทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับลูกจ้างบางกลุ่มหรือบางประเภท เพื่อส่งเสริมการจ้างงานและการคุ้มครองแรงงาน
· บทบัญญัติเกี่ยวกับการเกษียณอายุและการจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างกรณีเกษียณอายุ
· เพิ่มบทกำหนดโทษกรณีนายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างกรณีเกษียณอายุ
· การเตรียมการเรื่อง การเกษียณอายุพนักงาน เพื่อรองรับกฎหมายใหม่
6. สรุปสาระสำคัญของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2562 มีประเด็นหลักๆ เช่น
· การตีความตาม พรบ. ปี 2562 : ลากิจธุระอันจำเป็น, การกำหนดเงื่อนไขการลากิจ, การย้ายสถานประกอบกิจการ, ค่าชดเชย และอัตราค่าชดเชยใหม่, การแก้ไขข้อบังคับการทำงาน และอื่น ๆ
· กำหนดให้การเปลี่ยนตัวนายจ้างต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างตามมาตรา 13
· กำหนดวันลาและการจ่ายค่าจ้างในวันลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็น ตามมาตรา 34 มาตรา 57/1
· เพิ่มอัตราค่าชดเชยกรณีลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 20 ปีขึ้นไป ตามมาตรา 118
· การเปลี่ยนแปลงวันลาเพื่อคลอดบุตร ตามมาตรา 41 และมาตรา 59
· กำหนดจ่ายค่าจ้างต่างๆ ให้แก่ลูกจ้างชาย-หญิง ในลักษณะ คุณภาพ ปริมาณเดียวกัน เท่าเทียมกันตามมาตรา 53
· แก้ไขเปลี่ยนแปลงกรณีนายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการ ค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยพิเศษ ตามมาตรา 120, 120/1, 120/2
· และสาระสำคัญอื่น ๆ อีกหลายประเด็น
7. สรุปสาระสำคัญ ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ 8 พ.ศ.2566 มีผลใช้บังคับวันที่ 18 เมษายน 2566 มีประเด็นหลักๆ เช่น
· นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงให้ลูกจ้างนำงานไปทำที่บ้านหรือที่พักอาศัยของลูกจ้าง หรือตกลงให้ลูกจ้างทำงานผ่านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสถานที่ใดๆ ได้
· เมื่อสิ้นสุดเวลาทำงานปกติแล้ว ลูกจ้างมีสิทธิปฏิเสธในการติดต่อสื่อสารกับนายจ้าง หัวหน้างาน ผู้ควบคุมงาน หรือผู้ตรวจงาน
· ลูกจ้างซึ่งทำงานดังกล่าว มีสิทธิและอยู่ภายใต้การคุ้มครองตามกฎหมายแรงงานต่างๆ เช่นเดียวกับลูกจ้างที่ทำงานในสถานประกอบการของนายจ้างด้วย
· และประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการตกลง วัน เวลาทำงานปกติ เวลาพัก การลา ขอบเขตหน้าที่ของลูกจ้าง การกำกับควบคุมของนายจ้าง ภาระหน้าที่เกี่ยวกับการจัดหาเครื่องมือหรืออุปกรณ์การทำงาน รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่จำเป็น อันเนื่องจากการทำงาน
8. ทักษะและเทคนิคการบริหารวินัยพนักงานเชิงสร้างสรรค์
9. หลักการลงโทษทางวินัย การเลิกจ้างที่เป็นธรรม และการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
workshop : ฝึกปฏิบัติการทดลองทำหน้าที่ตัดสินวินัยพนักงาน กรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริง
การวิเคราะห์ปัญหาวินัยพนักงานเพื่อกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ
คุณสมบัติผู้เข้าอบรมสัมมนา เจ้าหน้าที่บุคคล, ผู้จัดการ, หัวหน้างาน, ผู้บริหาร และผู้ที่สนใจ
วิธีการฝึกอบรม
· บรรยาย พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
· แลกเปลี่ยนประสบการณ์
· ฝึกปฏิบัติ
ระยะเวลา : หลักสูตร 1 วัน (6 ชั่วโมง)
วิทยากรในการฝึกอบรม อาจารย์พงศา บุญชัยวัฒนโชติ
- อดีตกรรมการบริหารองค์กร และผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคล ขององค์กรชั้นนำหลายแห่ง
- ประสบการณ์งานบริหารทรัพยากรบุคคลและองค์กรมากกว่า 30 ปี อาทิ
· Plantheon Group Companies.
· CIMB Thai Bank, Co,LTD.
· Thai Glass Industry, Co,LTD
· Mahaphant Fibre Cement, Co,LTD
· TOYOTA Leasing (Thailand), Co,LTD
- ปัจจุบันเป็นวิทยากร อาจารย์ ที่ปรึกษา ด้านบริหารองค์กรและทรัพยากรบุคคล ให้กับองค์กรต่างๆ
- ผลงานเขียน :
· หนังสือ HRMBA “จุดประกายความคิด เสริมอาวุธการบริหารคน”
· หนังสือ SMART JD “คำบรรยายลักษณะงานที่กระชับ ฉลาด ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย”
กำหนดการ วันพุธที่ 14 สิงหาคม 2567 เวลา 09.00-16.00 น.
สถานที่ โรงแรมเมอเวนพิค สุขุมวิท ซอย 15
ราคา/ท่าน
|
Vat 7%
|
ราคารวม Vat
|
หัก ณ
ที่จ่าย 3%
|
ราคาหลังหัก
ณ ที่จ่าย
|
ราคาปกติ
|
4,000
|
280
|
4,280
|
120
|
4,160
|
สมาชิก,โอนก่อน 1 สัปดาห์
|
3,700
|
259
|
3,959
|
111
|
3,848
|
3 ท่านขึ้นไป
|
3,400
|
238
|
3,638
|
102
|
3,536
|
5 ท่านขึ้นไป
|
3,000
|
210
|
3,210
|
90
|
3,120
|
กรุณาดาวน์โหลดหลักสูตรและใบลงทะเบียนที่นี่ หรือกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มด้านล่างเพื่อลงทะเบียน