หลักการและเหตุผล
Knowledge Management การจัดการความรู้ เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากในทุกๆ องค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรที่นำระบบการบริหารคุณภาพ ISO 9001:2015 มาประยุกต์ใช้ในการบริหารงาน ซึ่งมีระบุไว้อย่างชัดเจนในข้อกำหนด 7.1.6 ความรู้ขององค์กร Organization Knowledgement เพื่อให้มีการจัดการความรู้ในการบริหารแต่ละกระบวนการอย่างเป็นระบบ สอดคล้องตามข้อกำหนด ISO 9001:2015 Requirement ตามมาตรฐานสากล อีกทั้งการจัดการความรู้ Knowledge Management ยังช่วยทำให้เกิดมาตรฐานในการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุผลตามนโยบาย วิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร สามารถสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
หลักสูตร Knowledge Management สำหรับ ISO 9001:2015 นี้ได้บรรจุเนื้อหาสาระที่สำคัญในการจัดการความรู้ เพื่อจะทำให้สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของระบบการบริหารคุณภาพ ISO 9001:2015 ได้แก่ ประเภทและที่มาของความรู้ ความหมายของการจัดการความรู้ วัตถุประสงค์ของการจัดการความรู้ Purpose of Knowledge Management วงจรความรู้ Knowledge Management Cycle การจัดทำแผนการจัดการองค์ความรู้ในองค์กร 7 ขั้นตอนในการดำเนินการตามข้อกำหนดแต่ละกระบวนการทั้งที่เป็นข้อกำหนด Common Requirement และข้อกำหนดเฉพาะกระบวนการ Special Requirement ได้อย่างครบถ้วน
หัวใจสำคัญของหลักสูตรนี้ คือ การตีความข้อกำหนด 7.1.6 ความรู้องค์กร การกำหนดประเภทความรู้ที่จำเป็น และเคล็ดลับการจัดการความรู้องค์กรตามมาตรฐานสากล ISO 9001:2015 ซึ่งกล่าวถึง แหล่งที่มาของความรู้องค์กร เทคนิคการสร้างความรู้องค์กร การรวบรวม การส่งมอบ และถ่ายทอดความรู้องค์กร รวมถึงตัวอย่างความสำเร็จในการจัดการความรู้องค์กรและอุปสรรคไว้อย่างครบถ้วน
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1. เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจหลักการของการจัดการความรู้ Knowledge Management ประเภทและที่มาของความรู้ ความหมายของการจัดการความรู้ วัตถุประสงค์ของการจัดการความรู้ วงจรความรู้ ขอบเขตของการจัดการความรู้
2. เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจขอบเขตและการจัดทำแผนการจัดการความรู้ รวมถึงสามารถดำเนินการจัดการความรู้แต่ละกระบวนการในองค์กร เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของระบบการบริหารคุณภาพ ISO 9001:2015
3. เพื่อให้สามารถนำเทคนิคการจัดการความรู้องค์กร ไปสู่การปฏิบัติจริงที่เห็นผล ทั้งการสกัดและการสร้างความรู้องค์กร การรวมรวม การส่งมอบและการถ่ายทอดความรู้องค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องตามข้อกำหนด 7.1.6 ของระบบการบริหารคุณภาพ ISO 9001:2015
เนื้อหาหลักสูตร:
บทที่ 1: Knowledge Management การจัดการความรู้
· ประเภทและที่มาของความรู้
· ความหมายของการจัดการความรู้ Knowledge Management
· วัตถุประสงค์การจัดการความรู้ Purpose of Knowledge Management
· ระดับของความรู้ Level of Knowledge
· วงจรของการจัดการความรู้ Knowledge Management Cycle
· ขอบเขตของการจัดการความรู้ Scope of Knowledge Management
· แผนการจัดการความรู้ Knowledge Management Plan
บทที่ 2: ข้อกำหนดตามระบบ ISO 9001:2015 เกี่ยวกับความรู้องค์กร
· ข้อกำหนด 7.1.6 ความรู้องค์กร
· การตีความข้อกำหนด 7.1.6
· อะไรคือความรู้ที่จำเป็นตามระบบ ISO 9001:2015
บทที่ 3: Knowledge Management สำหรับ ISO 9001:2015
· เคล็ดลับการจัดการความรู้องค์กรตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
· หน้าที่การจัดการความรู้องค์กรเป็นของใคร
· แหล่งที่มาของความรู้องค์กร
· เทคนิคการจัดการความรู้องค์กร
· เทคนิคการสกัดความรู้สู่องค์กร
· เทคนิคการสร้างความรู้องค์กร
· เทคนิคการสร้างความรู้องค์กรจากปัญหาและอุปสรรค
· เทคนิคการสร้างความรู้องค์กรจากความสำเร็จ
· เทคนิคการรวบรวม การส่งมอบ และถ่ายทอดความรู้องค์กร
· เทคนิคการเรียนรู้ วิธีการเรียนรู้ และเวลาที่เหมาะสม
· อุปสรรคสำคัญในการจัดการความรู้องค์กร
· ตัวอย่างความสำเร็จในการจัดการความรู้องค์กร
บทที่ 4: เคล็ดลับในการจัดการความรู้สำหรับระบบ ISO 9001:2015
· การจัดการความรู้สำหรับ Top Management
· การจัดการความรู้สำหรับ QMR
· การจัดการความรู้สำหรับ DCC
· การจัดการความรู้สำหรับ ฝ่ายขาย Sale
· การจัดการความรู้สำหรับ ฝ่ายจัดซื้อ Purchase
· การจัดการความรู้สำหรับ ฝ่ายวิศวกรรม Engineer
· การจัดการความรู้สำหรับ ฝ่ายวางแผนการผลิต Planning
· การจัดการความรู้สำหรับ ฝ่ายผลิต Production
· การจัดการความรู้สำหรับ ฝ่ายซ่อมบำรุง PM
· การจัดการความรู้สำหรับ ฝ่ายควบคุมคุณภาพ QC/QA
· การจัดการความรู้สำหรับ ฝ่ายคลังวัตถุดิบ Store
· การจัดการความรู้สำหรับ ฝ่ายคลังสินค้าสำเร็จรูป W/H
· การจัดการความรู้สำหรับ ฝ่ายจัดส่ง Delivery
· การจัดการความรู้สำหรับ ฝ่ายบุคคล Personnel
บทที่ 5: การตรวจติดตามภายใน Internal Audit สำหรับ ISO 9001:2015
· หลักเกณฑ์ในการตรวจติดตามภายในสำหรับระบบ ISO 9001:2015
· การจัดทำ Audit Check List สำหรับการตรวจติดตามภายใน
· ตัวอย่างประเด็นคำถามตามข้อกำหนด 7.1.6 ความรู้องค์กร
· ตัวอย่างข้อบกพร่อง การออกและการปิด CAR/PAR
บทที่ 6: การตรวจประเมินจาก Certified Body สำหรับ ISO 9001:2015
· หลักเกณฑ์ในการตรวจประเมินจาก Certified Body
· ตัวอย่างประเด็นการ Audit ตามข้อกำหนด 7.1.6 ความรู้องค์กร
· ตัวอย่าง NC ตามข้อกำหนด 7.1.6 ความรู้องค์กร
· ตัวอย่างวิธีการตอบ NC ที่ได้รับตามข้อกำหนด 7.1.6 ความรู้องค์กร
วิธีการฝึกอบรม
1. บรรยายเนื้อหา หลักทฤษฎี ให้เข้าใจง่าย
2. อธิบายตัวอย่างประกอบที่ชัดเจน
3. Workshop ฝึกลงมือปฏิบัติจริง
วิทยากร อาจารย์กุหลาบ เจียมจิตรพานิช
ผู้เชี่ยวชาญด้าน
ระบบการบริหารคุณภาพ ISO 9001:2015 การควบคุมคุณภาพ การบริหารความเสี่ยง
ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001:2015 การบริหารงานจัดซื้อ การบริหารฝ่ายขายระบบการบัญชีและการสอบบัญชี การวิเคราะห์งบการเงิน การจัดทำงบประมาณ การลดต้นทุน ระบบการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร การบริหารคลังสินค้า การเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
ประวัติการศึกษา
· ปริญญาโท : คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
· ปริญญาตรี : คณะบริหารธุรกิจ สาขาการบัญชี มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ประสบการณ์
· ตัวแทนฝ่ายบริหารระบบการบริหารคุณภาพ (QMR) ISO 9001:2015
· ตัวแทนฝ่ายบริหารระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (EMR) ISO 14001:2015
· ผู้จัดการฝ่ายการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร TQM Manager
· ผู้จัดการฝ่ายควบคุมคุณภาพ
· ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายขาย
· ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ
· ผู้จัดการฝ่ายบัญชี
ความสามารถพิเศษ:
· ด้านการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ด้วยภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่น ทั้งการนำเข้าและส่งออก
· ด้านการสนทนาภาษาญี่ปุ่น ทั้งที่ใช้ในชีวิตประจำวัน และใช้ในการทำงาน
กำหนดการ วันพฤหัสบดีที่ 13 มีนาคม 2568 เวลา 09.00-16.00 น.
สถานที่ โรงแรมเมอเวนพิค สุขุมวิท ซอย 15
ราคา/ท่าน
|
Vat 7%
|
ราคารวม Vat
|
หัก ณ
ที่จ่าย 3%
|
ราคาหลังหัก
ณ ที่จ่าย
|
ราคาปกติ
|
4,000
|
280
|
4,280
|
120
|
4,160
|
สมาชิก,โอนก่อน 1 สัปดาห์
|
3,700
|
259
|
3,959
|
111
|
3,848
|
3 ท่านขึ้นไป
|
3,400
|
238
|
3,638
|
102
|
3,536
|
5 ท่านขึ้นไป
|
3,000
|
210
|
3,210
|
90
|
3,120
|
กรุณาดาวน์โหลดหลักสูตรและใบลงทะเบียนที่นี่ หรือกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มด้านล่างเพื่อลงทะเบียน