หลักการและเหตุผล
ตามที่พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2555 ต่อมาออกกฎกระทรวง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัย ในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง และมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
ข้อ 2 ให้ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549
โดยมีหลักเกณฑ์ให้ผู้จัดฝึกอบรมต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
กำหนดให้ นายจ้างของสถานประกอบกิจการตามท้ายประกาศฉบับนี้ ที่มีลูกจ้างจำนวน 50 คนขึ้นไป ต้องจัดให้มีระบบการจัดการด้านความปลอดภัย ภายใน 60 วันนับตั้งแต่วันที่มีลูกจ้างครบตามกำหนด
ระบบการจัดการด้านความปลอดภัย อย่างน้อย ประกอบด้วย
(1) นโยบายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
(2) การจัดการองค์กรด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
(3) แผนงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และการนำไปปฏิบัติ
(4) การประเมินผลและการทบทวนระบบการจัดการด้านความปลอดภัย
(5) การปรับปรุงและพัฒนาระบบการจัดการด้านความปลอดภัย
วัตถุประสงค์ในการฝึกอบรม
1. ควบคุมดูแลการดำเนินการตามระบบการจัดการด้านความปลอดภัย
2. เปิดโอกาสให้ลูกจ้างทุกคนมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามระบบการจัดการด้านความปลอดภัย
3. จัดให้ลูกจ้างสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัยได้ โดยคำนึงถึงการรักษาข้อมูลส่วนบุคคล
4. จัดให้มีช่องทางในการรับความคิดเห็นข้อเสนอแนะ หรือข้อร้องเรียนเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของลูกจ้าง เพื่อนำข้อมูลมาพิจารณาดำเนินการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาระบบการจัดการด้านความปลอดภัย
หัวข้อการอบรม
· กฎหมายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
§ ความหมายของพระราชบัญญัติฯ
§ ขอบเขตการบังคับใช้
§ การบริหาร การจัดการ และการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
§ คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
§ การควบคุม กำกับ ดูแล
§ พนักงานตรวจความปลอดภัย
§ กองทุนความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
§ สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
§ บทกำหนดโทษ
รูปแบบการสัมมนา บรรยาย พร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา สนทนาและตอบข้อซักถาม
วิทยากรในการฝึกอบรม ดร.ชยุตพงศ์ นิลอ่อน
ประสบการณ์การบริหารงานทรัพยากรบุคคลและความปลอดภัย ประมาณ 20 ปี
ตำแหน่งงานในปัจจุบัน
- กรรมการบริหาร บริษัท BEST ISO THAILAND Co., LTD.
- ทนายความอาชีพด้านคดีแรงงาน คดีปกครอง คดีทรัพย์สินทางปัญญา
- ประกาศนียบัตร Personal Data Protection Law for Practitioners (PDPA) BY ICDL
- ประกาศนียบัตร Personal Data Protection Law for Practitioners จุฬาลงกรณ์
- ประกาศนียบัตร Fast Mini MBA มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
ฯลฯ
กำหนดการ วันศุกร์ที่ 8 ธันวาคม 2566 เวลา 09.00-16.00 น.
สถานที่ โรงแรมเมอเวนพิค สุขุมวิท 15 กรุงเทพฯ
ราคา/ท่าน
|
Vat 7%
|
ราคารวม Vat
|
หัก ณ
ที่จ่าย 3%
|
ราคาหลังหัก
ณ ที่จ่าย
|
ราคาปกติ
|
4,000
|
280
|
4,280
|
120
|
4,160
|
สมาชิก,โอนก่อน 1 สัปดาห์
|
3,700
|
259
|
3,959
|
111
|
3,848
|
3 ท่านขึ้นไป
|
3,400
|
238
|
3,638
|
102
|
3,536
|
5 ท่านขึ้นไป
|
3,000
|
210
|
3,210
|
90
|
3,120
|
กรุณาดาวน์โหลดหลักสูตรและใบลงทะเบียนที่นี่ หรือกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มด้านล่างเพื่อลงทะเบียน