
สารเคมี น้ำมัน วัตถุอันตราย และการเตรียมพร้อมตอบสนองต่อสภาวะฉุกเฉิน เป็นเรื่องที่มีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมหลายประเภท โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตหรือบริการที่ต้องเกี่ยวข้องกับสารเคมี น้ำมัน วัตถุอันตรายจะต้องมีการจัดการให้ถูกต้องเหมาะสม รวมถึงการเตรียมพร้อมตอบสนองต่อสภาวะฉุกเฉิน ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001:2015 และระบบการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ISO 45001:2018 ขององค์กร ให้ครอบคลุมทั้งบุคลากรในองค์กรเองและบุคคลภายนอกที่เข้ามาปฏิบัติงานในพื้นที่ ได้แก่ผู้ส่งมอบ Suppliers, ผู้รับเหมาหรือผู้รับจ้างช่วง Contractors - Outsources, และผู้มาเยี่ยมเยียน Visitors ให้เกิดความปลอดภัย ไม่เกิดการบาดเจ็บ เจ็บป่วย หรือเสียชีวิต และเสริมสร้างสภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับข้อกำหนดของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001:2015 และระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ISO 45001:2018 ที่เป็นมาตรฐานสากลได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
หลักสูตร “การจัดการสารเคมี น้ำมัน วัตถุอันตราย และการเตรียมพร้อมตอบสนองต่อสภาวะฉุกเฉิน” ได้บรรจุเนื้อหาสำคัญๆ ที่จะช่วยให้บุคลากรผู้มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบในการจัดการสารเคมี น้ำมัน วัตถุอันตราย และการเตรียมพร้อมตอบสนองต่อสภาวะฉุกเฉินในธุรกิจอุตสาหกรรมหรือบริการให้มีความรู้ความเข้าใจ สามารถนำไปสู่แนวทางปฏิบัติจริงได้อย่างถูกต้องเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรที่มีการนำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001:2015 และระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ISO 45001:2018 ตัวแทนฝ่ายบริหาร Management Representative, คณะกรรมการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม, คณะกรรมการด้านการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย, เจ้าหน้าที่ดูแลรับผิดชอบด้านความปลอดภัยวิชาชีพ Safety Officer รวมถึงบุคลากรในหน่วยงานต่างๆ ในองค์กร ให้สามารถดำเนินการจัดการสารเคมี น้ำมัน วัตถุอันตรายและการเตรียมพร้อมตอบสนองต่อสภาวะฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์:
1. เพื่อให้บุคลากรในองค์กรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการสารเคมี น้ำมัน วัตถุอันตราย และการเตรียมพร้อมตอบสนองต่อสภาวะฉุกเฉิน สามารถนำความรู้ไปกำหนดแนวทางปฏิบัติจริงที่ถูกต้องเหมาะสม
2. เพื่อให้ตัวแทนฝ่ายบริหาร Management Representative, คณะกรรมการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม Environmental Committee, คณะกรรมการด้านการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย Occupational Health and Safety Committee สามารถกำกับดูแลรับผิดชอบการจัดการสารเคมี น้ำมัน วัตถุอันตราย และการเตรียมพร้อมตอบสนองต่อสภาวะฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับข้อกำหนดตามมาตรฐานสากล
หลักสูตรนี้เหมาะกับ
1. Management Representative ตัวแทนฝ่ายบริหาร – EMR ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001:2015, OH&S MR ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ISO 45001:2018
2. คณะกรรมการและทีมงานผู้ควบคุมดูแลระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001:2015 และระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ISO 45001:2018
3. ผู้จัดการโรงงาน, ผู้จัดการฝ่าย, ผู้จัดการแผนก, หัวหน้าแผนก, หัวหน้างาน
4. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยวิชาชีพ Safety Officer, DCC – เจ้าหน้าที่ควบคุมเอกสาร
เนื้อหาหลักสูตร
บทที่ 1: การจัดการสารเคมี น้ำมัน วัตถุอันตราย
· ความหมายของสารเคมี น้ำมัน วัตถุอันตราย
· ประเภทของสารเคมี น้ำมัน วัตถุอันตราย
· ผลกระทบของการจัดการสารเคมี น้ำมัน วัตถุอันตราย
· ข้อกำหนดของระบบ ISO 14001:2015 & ISO 45001:2018 ที่เกี่ยวข้อง
· การประเมินความเสี่ยงในการจัดการสารเคมี น้ำมัน วัตถุอันตราย
· 7 องค์ประกอบหลักการจัดการความปลอดภัย
· สัญลักษณ์แสดงอันตรายของสารเคมี
· เครื่องหมายความปลอดภัย
· ระบบการจัดการสารเคมี น้ำมัน วัตถุอันตราย
· แนวทางปฏิบัติการจัดเก็บ การใช้ การเคลื่อนย้ายสารเคมี น้ำมัน วัตถุอันตราย
· แนวทางปฏิบัติกรณีสารเคมีกระเด็นใส่ร่างกาย
· แนวทางปฏิบัติกรณีสารเคมีหกรั่วไหล
· MSDS – SDS ความหมาย ความสำคัญ ประโยชน์และตัวอย่าง
· การปฐมพยาบาลสำหรับการจัดการสารเคมี น้ำมัน และวัตถุอันตราย
· การจัดการพื้นที่บริเวณรับส่ง การจัดการเส้นทางจราจร
· โปรแกรมการบำรุงรักษาอุปกรณ์ความปลอดภัย
· อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล Personnel Protective Equipment (PPE)
· การสื่อสาร ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการจัดการสารเคมี น้ำมัน และวัตถุอันตราย
· ผู้มีอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบในการจัดการสารเคมี น้ำมัน และวัตถุอันตราย
· การฝึกอบรม แผนการฝึกอบรม การประเมินผล และบันทึกประวัติการฝึกอบรม
· ระบบเอกสารสารสนเทศเกี่ยวกับการจัดการสารเคมี น้ำมัน วัตถุอันตราย
· การกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการจัดการสารเคมี น้ำมัน วัตถุอันตราย
· การติดตาม ตรวจวัด วิเคราะห์และประเมินผลการจัดการสารเคมี น้ำมัน วัตถุอันตราย
· การจัดทำรายงานผลสำเร็จของการจัดการสารเคมี น้ำมัน วัตถุอันตรายต่อผู้บริหารระดับสูง
บทที่ 2: การเตรียมพร้อมตอบสนองต่อสภาวะฉุกเฉิน
· ความหมายของคำว่า “สภาวะฉุกเฉิน”
· ประเภทของ “สภาวะฉุกเฉิน”
· ข้อกำหนดของระบบ ISO 14001:2015 & ISO 45001:2018 ที่เกี่ยวข้อง
· การประเมินความเสี่ยงต่อสภาวะฉุกเฉินขององค์กร
· การกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการเตรียมพร้อมตอบสนองต่อสภาวะฉุกเฉิน
· การวางแผนการเตรียมพร้อมตอบสนองต่อสภาวะฉุกเฉิน
· อุปกรณ์ที่จำเป็นในการตอบโต้เหตุฉุกเฉิน
· การฝึกอบรม และการฝึกซ้อมแผนตอบสนองต่อสภาวะฉุกเฉิน
· การติดตาม ตรวจวัด วิเคราะห์และประเมินผลการเตรียมพร้อมตอบสนองต่อสภาวะฉุกเฉิน
· การจัดทำรายงานผลการเตรียมพร้อมตอบสนองต่อสภาวะฉุกเฉิน
วิทยากร อาจารย์กุหลาบ เจียมจิตรพานิช
ผู้เชี่ยวชาญด้าน
ระบบการบริหารคุณภาพ ISO 9001:2015 การควบคุมคุณภาพ การบริหารความเสี่ยง
ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001:2015 การบริหารงานจัดซื้อ การบริหารฝ่ายขายระบบการบัญชีและการสอบบัญชี การวิเคราะห์งบการเงิน การจัดทำงบประมาณ การลดต้นทุน ระบบการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร การบริหารคลังสินค้า การเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
ประวัติการศึกษา
· ปริญญาโท : คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
· ปริญญาตรี : คณะบริหารธุรกิจ สาขาการบัญชี มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ประสบการณ์
· ตัวแทนฝ่ายบริหารระบบการบริหารคุณภาพ (QMR) ISO 9001:2015
· ตัวแทนฝ่ายบริหารระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (EMR) ISO 14001:2015
· ผู้จัดการฝ่ายการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร TQM Manager
· ผู้จัดการฝ่ายควบคุมคุณภาพ
· ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายขาย
· ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ
· ผู้จัดการฝ่ายบัญชี
ความสามารถพิเศษ:
· ด้านการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ด้วยภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่น ทั้งการนำเข้าและส่งออก
· ด้านการสนทนาภาษาญี่ปุ่น ทั้งที่ใช้ในชีวิตประจำวัน และใช้ในการทำงาน
กำหนดการ วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม 2567 เวลา 09.00-16.00 น.
สถานที่ โรงแรมเมอเวนพิค สุขุมวิท ซ.15
ราคา/ท่าน
|
Vat 7%
|
ราคารวม Vat
|
หัก ณ
ที่จ่าย 3%
|
ราคาหลังหัก
ณ ที่จ่าย
|
ราคาปกติ
|
4,000
|
280
|
4,280
|
120
|
4,160
|
สมาชิก,โอนก่อน 1 สัปดาห์
|
3,700
|
259
|
3,959
|
111
|
3,848
|
3 ท่านขึ้นไป
|
3,400
|
238
|
3,638
|
102
|
3,536
|
5 ท่านขึ้นไป
|
3,000
|
210
|
3,210
|
90
|
3,120
|
กรุณาดาวน์โหลดหลักสูตรและใบลงทะเบียนที่นี่ หรือกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มด้านล่างเพื่อลงทะเบียน