หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันในเรื่องของคุณภาพของสินค้าหรือบริการถือเป็นเรื่องใหญ่ในทุก ๆ กระบวนการของการผลิตสินค้าหรือบริการแต่สิ่งที่เน้นมากที่สุดที่เราต้องตระหนักตลอดเวลาและต้องให้ความสำคัญในการประกันคุณภาพด้านการควบคุมกระบวนการผลิตนั้น ๆ นอกจากการศึกษาถึงสภาวะการควบคุมของกระบวนการที่ทราบถึงกระบวนการอยู่ภายใต้การควบคุมหรือไม่แล้ว ยังมีความจำเป็นที่ผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องทราบถึงความมีศักยภาพ (Potential) ความสามารถ (Capability) ตลอดจนสมรรถนะ (Performance) ของกระบวนการ ด้วยการศึกษาความสามารถของกระบวนการจะช่วยทำให้เข้าใจถึงสภาพทั่วไปของกระบวนการเพื่อการประเมินหรือปรับปรุง กระบวนการให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจหลักการของการควบคุมกระบวนการโดยใช้เทคนิคด้านสถิติและการวิเคราะห์ขีดความสามารถของกระบวนการ
2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจในหลักการทางสถิติ
3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจในการควบคุมกระบวนการ
4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรม สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการควบคุมกระบวนการในองค์กรได้
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้เข้าร่วมอบรมทราบถึงหลักการการและขั้นตอนค่าดัชนีชี้วัดความสามารถของกระบวนการ
2. ผู้เข้าร่วมอบรมตระหนักถึงความสำคัญของการวิเคราะห์ค่าดัชนีชี้วัดความสามารถของกระบวนการ
3. ผู้เข้าร่วมอบรมทราบถึงการวิเคราะห์ค่าดัชนีชี้วัดความสามารถของกระบวนการด้วยตนเอง เพื่อเสริมสร้างทักษะจากกรณีศึกษาต่าง ๆ ที่ได้จากการทำ Workshop
หัวข้อการอบรม
1. ภาพรวมของระบบการผลิตกับ SPC
2. ความหมายหลักการและแนวคิดของความสามารถของกระบวนการ
3. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสถิติ
4. ดัชนีที่วัดศักยภาพของความสามารถ (potential capability, Cp)
5. ดัชนีที่วัดความสามารถที่แท้จริงของกระบวนการ (actual capability, Cpk)
6. ดัชนีแสดงสมรรถนะของกระบวนการสถิติ (Process Performance Index; Pp, Ppk)
7. การคำนวณความสามารถของกระบวนการ
Workshop
1. แบ่งกลุ่มงาน มอบหมายการหาความสามารถของกระบวนการแต่ละเรื่อง
2. การวัดงานและวิเคราะห์ตีความหมายของความผิดปกติของข้อมูล
3. การดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องเมื่อเกิดความผิดปกติ
4. ศึกษาความสามารถของกระบวนการจากข้อมูลที่เก็บมา
5. คำนวณค่าความสามารถของกระบวนการ (Cp, Cpk, Pp, Ppk)
6. วิเคราะห์และตีความหมายของดัชนีวัดความสามารถประเภทต่าง ๆ และการนำไปปรับปรุงเพื่อยกระดับขีดความสามรถของกระบวนการ
7. การอภิปรายกลุ่ม สรุปเนื้อหา นำเสนองานจากการทำ Workshop
วิธีการฝึกอบรม (ทฤษฏี 40% เชิงปฏิบัติการ 60%)
- การบรรยาย-สาธิตเนื้อหาและทฤษฎี
- ตัวอย่างกรณีศึกษาสำหรับการฝึกปฏิบัติ
- กิจกรรมกลุ่มระดมสมอง
- กิจกรรมกลุ่ม (Workshop)
คุณสมบัติผู้เข้าอบรม
- ผู้บริหาร ผู้จัดการ วิศวกร หัวหน้างาน ที่เกี่ยวข้อง
- ผู้ที่มีหน้าที่หรือผู้ได้รับพิจารณาให้รับผิดชอบงานที่เกี่ยวข้องและผู้สนใจทั่วไป
วิทยากร อาจารย์ ดร.ณรงค์ ตู้ทอง
การศึกษา
• ปริญญาเอก คณะบริหารธุรกิจ สาขาบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
• ปริญญาโท คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
• ปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยเซ็นต์จอห์น
• ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาช่างยนต์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพระนครเหนือ
กำหนดการ วันพุธที่ 11 ธันวาคม 2567 เวลา 09.00-16.00 น.
สถานที่ โรงแรมเมอเวนพิค สุขุมวิท ซอย 15
ราคา/ท่าน
|
Vat 7%
|
ราคารวม Vat
|
หัก ณ
ที่จ่าย 3%
|
ราคาหลังหัก
ณ ที่จ่าย
|
ราคาปกติ
|
4,000
|
280
|
4,280
|
120
|
4,160
|
สมาชิก,โอนก่อน 1 สัปดาห์
|
3,700
|
259
|
3,959
|
111
|
3,848
|
3 ท่านขึ้นไป
|
3,400
|
238
|
3,638
|
102
|
3,536
|
5 ท่านขึ้นไป
|
3,000
|
210
|
3,210
|
90
|
3,120
|
กรุณาดาวน์โหลดหลักสูตรและใบลงทะเบียนที่นี่ l หรือกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มด้านล่างเพื่อลงทะเบียน