หลักการและเหตุผล
ไคเซ็น (Kaizen) เป็นภาษาญี่ปุ่น แปลว่าการปรับปรุง โดยเป็นคำธรรมดาสามัญที่ใช้ในการพูดการเขียนของคนญี่ปุ่น เช่นเดียวกับคำว่าการปรับปรุงในภาษาไทย แต่คำว่าไคเซ็น ได้กลายเป็นคำที่ถูกหยิบยกมาให้ความสำคัญจนเป็นหลักการที่นำมาซึ่งความเจริญก้าวหน้าของประเทศญี่ปุ่น เป็นหลักการที่ถูกหยิบยกมาเขียนเป็นตำราเช่น “ไคเซ็น กุญแจสู่ความสำเร็จแบบญี่ปุ่น เครื่องมือสำคัญเพื่อประสบชัยชนะในการบริหารการผลิต และการตลาด”
ไคเซ็น ที่จะประสบความสำเร็จต้องมีหลักพื้นฐานคือ การมีจิตสำนึกมีความคิดอยู่ตลอดเวลาว่าจะทำให้ดีขึ้น จะต้องก่อให้เกิดการลดต้นทุน ลดการสูญเสียต่าง ๆ มีระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี (Just in Time) และต้องสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าทั้งที่เป็นลูกค้าประเภทผู้ใช้บริการขั้นสุดท้าย (end-user) ซึ่งหมายถึงประชาชนหรือผู้รับบริการภายนอก และลูกค้าในกระบวนการคือผู้ที่รับงานต่อจากองค์กร นั่นเอง
การทำไคเซ็นเป็นการสนับสนุนให้เกิด "การใช้ความคิด" ไม่ใช่ "การตรากตรำทำงาน" การทำไคเซ็นไม่ใช่ทำเพื่อเพิ่มภาระ แต่มุ่งที่จะลด/เลิกภาระที่ไม่จำเป็นหรือเปลี่ยน ไปสู่วิธีอื่นที่เหมาะสมกว่า ไคเซ็นทำไปเพื่อความสะดวกสบายในการทำงานของตนเอง แนวคิดของไคเซ็นก็คือ เมื่อทำไคเซ็น คนที่สบายขึ้นก็คือตัวเราเองการไม่ทำไคเซ็นคนที่ลำบากก็คือตัวเราเองถ้าไม่ทำไคเซ็นให้กับงานของตนเอง ก็ไม่มีใครสามารถจะทำให้ได้ สิ่งที่ทำด้วยความไม่อยากทำไม่อาจเป็นไคเซ็นไปได้ ระบบไคเซ็นจะเป็นไปได้เมื่อผู้ทำเห็นว่าการทำไคเซ็นนั้นเป็นประโยชน์ต่อตนเอง และทำไปด้วยความเต็มใจ
โดยหลักสูตรนี้จะช่วยให้เข้าใจการแนวคิดการปรับปรุงงานแบบไคเซ็น เรียนรู้วิธีการค้นหาจุดที่ควรปรับปรุงขั้นตอนการดำเนินงานไคเซ็นแนวทาง/เทคนิคการปรับปรุงงานด้วยเครื่องมือต่างๆ โดยมีตัวอย่างกรณีศึกษาการทำไคเซ็นในระดับองค์กรชั้นนำ เพื่อนำไปเป็นแนวทางประยุกต์ใช้ในงานของตนเองต่อไปได้
วัตถุประสงค์ในการฝึกอบรม
1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจถึงแนวคิดและความเป็นมาของกิจกรรมข้อเสนอแนะของวิธีการปรับปรุงงาน
2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงแนวทางและขั้นตอนในการดำเนินกิจกรรมข้อเสนอแนะในการปรับปรุงงาน
3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเกิดการพัฒนาและแก้ไขปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างถูกวิธีและสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง
หัวข้อการอบรม
1. ไคเซ็นคืออะไร ทำไมต้องไคเซ็น
2. แนวคิดและข้อเสนอแนะของการปรับปรุงงานแบบไคเซ็น
3. ขั้นตอนและเครื่องมือในการปรับปรุงงาน
4. เทคนิคการแก้ไขปัญหา ด้วย PDCA แบบ ไคเซ็น
5. การทำไคเซ็นอย่างสร้างสรรค์ด้วยการลดความสูญเปล่ารอบตัวเรา
6. 7 ขั้นตอนการปรับปรุงงานอย่างมืออาชีพ
7. กรณีศึกษา และ Workshop
ระยะเวลาการฝึกอบรม (Time) หลักสูตร ONLINE 3 ชั่วโมง เวลา 13.00 - 16.00 น.
รูปแบบการอบรม (Methodology)
1. Zoom Online Meeting บรรยาย พร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา สนทนาและตอบข้อซักถาม
2. เอกสารประกอบการบรรยายจะจัดส่งเป็นไฟล์ PDF ให้ก่อนวันอบรม 2-3 วัน
วิทยากรในการฝึกอบรม : อาจารย์ศักดิ์ดา กรรณนุช
ที่ปรึกษาส่วนบุคคล วิทยากรด้านการผลิต
มีประสบการณ์ด้านการผลิตรวมมากกว่า 25 ปี ทำให้ได้มีโอกาส ทำงานกับคนหลากหลายประเภท เข้าใจความต้องการของทั้งคน และเข้าใจทั้งงานทุกระดับ เพราะได้เติบโตมาทางสายโรงงานตั้งแต่เป็นพนักงานฝ่ายผลิต เป็นหัวหน้างาน เป็นผู้จัดการฝ่ายผลิต และฝ่ายบริหารโครงการ รวม 15 ปี กับบริษัทสวารอฟสกี้ เจมสโตนส์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำระดับโลกทางด้านอัญมณี
ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาและวิทยากรอิสระ
การศึกษา
ปริญญาโท : มหาวิทยาลัยรังสิต - การบริหารจัดการธุรกิจ SMEs
ปริญญาตรี : วิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ – การบริหารจัดการทั่วไป
กำหนดการ วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน 2567
สถานที่ Zoom Online Meeting
ราคา 1,500 บาท
รายการค่าลงทะเบียน
|
ราคา + vat 7%
|
ราคาหลังหัก ณ ที่จ่าย 3%
|
: 1 ท่าน
|
1,500 + 105 = 1,605
|
1,605 – 45 = 1,560
|
กรุณาดาวน์โหลดหลักสูตรและใบลงทะเบียนที่นี่ หรือกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มด้านล่างเพือลงทะเบียน