หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันนี้ กฎหมายคุ้มครองแรงงาน เป็นกฎหมายคุ้มครองสิทธิเบื้องต้นของพนักงานทุกระดับ ตั้งแต่พนักงานธรรมดา ถึงผู้บริหาร ปัญหาความขัดแย้งส่วนใหญ่ในองค์กรเกิดจากการไม่เข้าใจ หรือเข้าใจผิดในการบังคับใช้กฎหมายแรงงาน แม้กระทั่งนักกฎหมายหลายคน ยังตีความผิดพลาดอยู่บ่อยครั้ง
หัวหน้างาน ซึ่งต้องบริหารจัดการ บังคับบัญชาพนักงานในหน่วยงานของตนเอง ย่อมต้องเข้าใจสิทธิและสวัสดิการพื้นฐานที่กฎหมายกำหนดไว้ เช่น การทำงานล่วงเวลา ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนหรือไม่ และอย่างไรเป็นการเลิกจ้าง เลิกจ้างเป็นธรรมและเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ต่างกันอย่างไร เป็นต้น
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้และเข้าใจกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในสถานประกอบการ
2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจสิทธิและหน้าที่ของนายจ้าง ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจสิทธิหน้าที่ของลูกจ้าง ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
4. เพื่อลดข้อขัดแย้งที่เกิดจากการตีความกฎหมายระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง
5. เพื่อช่วยให้การบริหารคน และการบังคับบัญชาลูกจ้างเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
หัวข้อเนื้อหาอบรม
1. กฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานมีอะไรบ้าง
2. ความหมายของการจ้างงาน สัญญาจ้างต้องทำเป็นเอกสาร หรือไม่
3. สัญญาจ้างแรงงาน และสัญญาจ้างทำของต่างกันอย่างไร
4. ทำไมสัญญาจ้างชั่วคราวต้องจ่างค่าชดเชย
5. ระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน มีผลบังคับใช้เสมอไปหรือไม่
6. สวัสดิการแรงงาน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน คืออะไร
7. ความหมายของคำว่าค่าจ้าง และสวัสดิการต่างกันอย่างไร
8. นายจ้างมีสิทธิเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างของลูกจ้างได้หรือไม่
9. วันหยุด และวันลา ต่างกันอย่างไร
10. พนักงานลาออก นายจ้างไม่จ่ายค่าวันหยุดพักผ่อนประจำปี ที่เหลือผิดหรือไม่.
11. ทำใมค่าชดเชยไม่จำเป็นต้องจ่ายตามอายุงาน
12. จัดวันหยุดนักขัตฤกษ์อย่างไรไม่ให้มีปัญหา
13. กรอกข้อมูลในใบสมัครงานอย่างไรอาจถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้ค่าชดเชย
14. ลงโทษพักงานและพักงานไม่ใช่เป็นการลงโทษ ค่าชดเชยต่างกันอย่างไร
15. งัดตู้ล๊อกเกอร์พนักงานเอาผลไม้มากิน ทำไมถูกไล่ออก ไม่ได้ค่าชดเชย
16. นายจ้างประเมินผลงานไม่ดีมีสิทธิขึ้นศาล
17. ลูกจ้างเอาข้อมูลนายจ้างไปใช้มีสิทธิถูกไล่ออกไม่ได้ค่าชดเชย
18. พนักงานระดับใด ไม่มีสิทธิได้ค่าทำงานล่วงเวลาตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
19. ลูกจ้าง ต้องให้ความยินยอมก่อนทำงานล่วงเวลาทุกครั้งเสมอไปหรือไม่
20. องค์ประกอบของหนังสือเตือนที่ถูกต้องตามกฎหมาย
21. ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกา
22. ถาม-ตอบ
ระยะเวลาการฝึกอบรม (Time)
· หลักสูตร ONLINE 6 ชั่วโมง เวลา 09 : 00-16 : 00 น.
รูปแบบการอบรม (Methodology)
1. Zoom Online Meeting บรรยาย พร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา สนทนาและตอบข้อซักถาม
2. เอกสารประกอบการบรรยายจะจัดส่งเป็นไฟล์ PDF ให้ก่อนวันอบรม 2-3 วัน
วิทยากรในการฝึกอบรม อาจารย์อภิชาติ ปริยานนท์
ที่ปรึกษาบริหารงานบุคคล, กฎหมายแรงงาน และทนายความ
การศึกษา
ปริญญาตรี กฎหมาย มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพมหานคร
ปริญญาโท การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยบูรพา, บางแสน ชลบุรี
ประสบการณ์การทำงาน
อดีตผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้าง ศาลแรงงานภาค 2
อดีตผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัท เดลฟาย ออโตโมทีฟ ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด
อดีตผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัท ออโตลิฟ (ประเทศไทย) จำกัด
อดีตผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัท เจเนอรัล ซิททิ่ง จำกัด
อดีตผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัท โซนี่ เซมิ คอนดักเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
อดีตผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัท โลจิสติก อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด
อดีตผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัท บริดสโตน เอ็นซีอาร์ (ประเทศไทย) จำกัด
กำหนดการ วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2568
สถานที่ Zoom Online Meeting
ราคา 2,500 บาท
- ราคายังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
- นิติบุคคล สามารถหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
รายการค่าลงทะเบียน
|
ราคา + vat 7%
|
ราคาหลังหัก ณ ที่จ่าย 3%
|
: 1 ท่าน
|
2,500 + 175 = 2,675
|
2,675 – 75 = 2,600
|
กรุณาดาวน์โหลดหลักสูตรและใบลงทะเบียนที่นี่ หรือกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มด้านล่างเพื่อลงทะเบียน