กฎ Incoterms® เป็นอีกข้อตกลงหนึ่งในการประกอบการธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ อีกทั้งช่วยทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจนำเข้า และส่งออกทั่วโลกได้เข้าใจถึงบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของตนเพื่อหลีกเลี่ยงความเข้าใจผิดที่ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น สภาหอการค้านานาชาติ (International Chamber Of Commerce - ICC) ได้มีการประชุมบรรดาสมาชิกของหอการค้านานาชาติทุก 10 ปี เพื่อวางกฎเกณฑ์ข้อตกลงในการส่งมอบสินค้าระหว่างประเทศ (International Commercial Terms: INCOTERMS) เริ่มใช้ในปี ค.ศ. 1936 (พ.ศ. 2479)
เงื่อนไขการส่งมอบสินค้าระหว่างประเทศ ในแต่ละประเทศมีกฎเกณฑ์การส่งมอบที่มีการเรียกคล้ายคลึงกันแต่ความหมายของแต่ละเงื่อนไขมีความแตกต่างกัน ดังนั้นเพื่อลดปัญหาความขัดแย้ง และมีความเข้าใจไม่ตรงกัน สภาหอการค้านานาชาติ (International Chamber of Commerce-ICC) จึงได้ออกกฎเกณฑ์การส่งมอบสินค้าที่เรียกว่า Incoterms เพื่อเป็นมาตรฐานให้ผู้ประกอบการส่งออก และนำเข้าได้เข้าใจถึงภาระหน้าที่ และความรับผิดชอบของแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้อง การเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์การส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ ได้มีการปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์ทุก 10 ปี ต่อมาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมอีกหลายครั้ง ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1953, 1967, 1980, 1990, 2000, 2010 และฉบับปัจจุบันได้ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมเมื่อปี ค.ศ. 2019 (เริ่มใช้เมื่อ 1 มกราคม 2020)
เงื่อนไขการส่งมอบสินค้า Incoterms® 2020 สภาหอการค้านานาชาติ (ICC) ได้มีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข และกฎเกณฑ์การส่งมอบสินค้าใหม่ โดยมีการกำหนดเรื่องการส่งมอบใบตราส่งสินค้าทางเรือ และเอกสารการประกันภัยให้กับคู่ค้า รวมทั้งภาระความรับผิดชอบในการส่งมอบสินค้าของผู้ขาย และการรับสินค้าของผู้ซื้อให้ชัดเจนยิ่งขึ้นเพื่อลดข้อโต้แย้ง และความไม่เข้าใจจากกฎเกณฑ์การส่งมอบสินค้าในปีเก่าๆ ที่ผ่านมา และ เพื่อให้กฎเกณฑ์ดังกล่าวสอดคล้องกับหลักปฏิบัติทางการค้าเทคโนโลยี การสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ และระบบ Logistic and Supply Chain ที่พัฒนาและเปลี่ยนแปลงไป โดยกำหนดให้ขอบเขตของ Incoterms® 2020 จำกัดอยู่เฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาซื้อขายในเรื่องการส่งมอบสินค้าที่ขาย ประกอบด้วย 11 ข้อตกลง ซึ่งได้แก่ EXW (Ex Works), FCA (Free Carrier), FAS (Free Alongside Ship), FOB (Free on Board), CFR (Cost and Freight), CIF (Cost Insurance and Freight), CPT (Carriage Paid to), CIP (Carriage Insurance Paid to), DAP (Delivered at Place), DPU (Delivered at Place Unloaded) และ DDP (Delivered Duty Paid)
เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจส่งออก และนำเข้า รวมทั้งผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการทำข้อตกลงการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ ได้มีความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับเงื่อนไขการส่งมอบสินค้าฉบับปรับปรุงใหม่ดังกล่าว กอปรกับในปัจจุบันการประกอบธุรกิจการส่งออก และนำเข้ามีการแข่งขันกันอย่างมาก ทั้งในด้านเทคโนโลยีการผลิต และสารสนเทศ ปัจจัยการลดต้นทุนการผลิต รวมทั้งการพัฒนาบุคลากรล้วนเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยพัฒนาธุรกิจการส่งออก-นำเข้า เพื่อให้สามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการต่างประเทศได้เป็นอย่างดี
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจความหมาย ความเป็นมาและความสำคัญของข้อตกลงการส่งมอบสินค้าระหว่างประเทศ (Incoterms ® 2020) ตามมาตรฐานสากลที่กำหนดโดยสภาหอการค้านานาชาติ (International Chamber of Commerce-ICC)
2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจหลักการสำคัญของ Incoterms ® 2020 ที่ใช้ในปัจจุบัน รวมถึงประโยชน์และข้อควรระวังในการใช้ Incoterms ® 2020 ของแต่ละข้อตกลงดังกล่าว
3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้เกิดความรู้ ความเข้าใจถึงชนิดของเอกสารที่ต้องส่งมอบให้คู่สัญญาตามข้อกำหนดใน Incoterms ®2020
4. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้เพื่อเป็นพื้นฐาน และแนวทางในการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการปฏิบัติงาน
5. เพื่อเป็นการเสริมสร้างประสิทธิภาพ และการพัฒนาบุคลากรในองค์กรให้มีความรู้ความเข้าใจในหลักเกณฑ์การส่งมอบสินค้าที่เป็นมาตรฐานสากล ให้เพิ่มมากขึ้นซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กรในภายภาคหน้า
หลักสูตรนี้เหมาะกับใคร
ผู้ประกอบการธุรกิจส่งออก และนำเข้า ผู้ประกอบการตัวแทนออกของ เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดซื้อ เจ้าหน้าที่ฝ่ายบัญชี และบุคคลทั่วไปที่มีแนวคิดที่จะประกอบธุรกิจการนำเข้า- ส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ และตัวแทนออกของ
หัวข้อการบรรยาย
· ทำไมการชำระเงินในการค้าระหว่างประเทศจึงเกี่ยวข้องกับกฎเกณฑ์ของ Incoterms® 2020
· จำเป็นหรือไม่ที่ต้องกำหนดปี ค.ศ.ของ Incoterms® ในสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ
· ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการไม่กำหนดข้อความ Incoterms ต่อหลังเงื่อนไขการส่งมอบสินค้า
· สิ่งที่เปลี่ยนแปลงระหว่าง Incoterms® 2010 และ Incoterms® 2020
· สาระสำคัญของกฎเกณฑ์ข้อตกลงในการส่งมอบสินค้าระหว่างประเทศ (International Commercial Terms – Incoterms ® 2020)
· หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้นำเข้า/ผู้ส่งออก ตลอดจนผู้ประกอบการขนส่งสินค้า (Carrier)
· การโอนความเสี่ยง และค่าใช้จ่ายของผู้ขาย และผู้ซื้อใน แต่ละเงื่อนไขของ Incoterms® 2020
· ความสำคัญของจุดส่งมอบสินค้าของผู้ขาย
· เอกสารการขนส่งสินค้า (Transport Documents) และเอกสารการประกันภัย (Insurance Documents) มีความสำคัญอย่างไรใน Incoterms® 2020
· การจัดเตรียมเอกสารการค้าระหว่างประเทศตามกฎเกณฑ์ของ Incoterms® 2020 ที่ต้องกระทำ
· เทคนิคการเลือกใช้ Incoterms® 2020 ให้เหมาะสมกับการเจรจาการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ
· คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ Incoterms®
· ความเสี่ยงกับการทำธุรกรรมกับประเทศที่มีความเสี่ยงสูง
· พระราชบัญญัติการฟอกเงิน และพระราชบัญญัติปริวรรตเงินตราเกี่ยวข้องสำหรับผู้ส่งออก และผู้นำเข้าอย่างใด
ระยะเวลาการฝึกอบรม (Time) หลักสูตร ONLINE 6 ชั่วโมง เวลา 09.00 – 16.00 น.
• บรรยาย พร้อมกรณีศึกษา
รูปแบบการอบรม (Methodology)
1. Zoom Online Meeting บรรยาย พร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา สนทนาและตอบข้อซักถาม
2. เอกสารประกอบการบรรยายจะจัดส่งเป็นไฟล์ PDF ให้ก่อนวันอบรม 2-3 วัน
วิทยากรในการฝึกอบรม อาจารย์มนตรี ยุวชาติ
การศึกษา : ปริญญาตรี Bachelor of Business Administration(Bangkok University)
ปริญญาโท Master of Business Administration
ตำแหน่งงานที่ผ่านมา :
Ø เจ้าหน้าที่บริหาร Asst. Vice President บมจ. ธนาคารกรุงเทพ สำนักงานใหญ่
Ø รับผิดชอบงาน-สำนักธุรกิจส่งออก-นำเข้า บมจ.ธนาคารกรุงเทพ สำนักงานใหญ่
Ø กำกับดูแล –ธุรกิจส่งออกและนำเข้าสำนักงานใหญ่
Ø งานให้คำปรึกษาธุรกิจส่งออกและนำเข้า (Trade Advisory)
ตำแหน่งงานพิเศษ : ผู้ประนีประนอม
Ø ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง
Ø ศาลแพ่งกรุงเทพใต้
Ø ศาลแพ่งพระโขนง
Ø ศาลอาญาพระโขนง
กำหนดการ วันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม 2564
สถานที่ Zoom Online Meeting
ราคา 2,500 บาท
• ราคายังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
• นิติบุคคล สามารถหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
รายการค่าลงทะเบียน
|
ราคา + vat 7%
|
ราคาหลังหัก ณ ที่จ่าย 3%
|
: 1 ท่าน
|
2,500 + 175 = 2,675
|
2,675 – 75 = 2,600
|
กรุณาดาวน์โหลดหลักสูตรและใบลงทะเบียนที่นี่ หรือกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มด้านล่างเพื่อลงทะเบียน