ในธุรกิจอุตสาหกรรมที่ใช้เครื่องจักรเป็นหลักในการผลิต มักไม่ได้สนใจวิธีการซ่อมบำรุงรักษาอย่างถูกต้อง ผลที่ตามมาก็คือเครื่องจักรไม่มีสมรรถนะการทำงานที่ดี ผลิตชิ้นงานออกมาไม่สม่ำเสมอ จนทำให้เกิดสัมพันธภาพที่ไม่ดีระหว่างหน่วยงานผลิตและหน่วยงานซ่อมบำรุง ทำให้เกิดต้นทุนสูง การส่งมอบไม่ทันเวลา ซึ่งส่งผลให้ขาดความร่วมมือกันของหน่วยซ่อมบำรุงและพนักงานหน่วยผลิต ด้วยปัญหานี้ จึงเกิดการพัฒนาวิธีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพขึ้นในการดูแลรักษาเครื่องจักรในกระบวนการผลิต คือ การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม (Total Productive Maintenance – TPM) ซึ่งสามารถทำให้ใช้เครื่องจักรได้อย่างมีประสิทธิผล สินค้าได้คุณภาพและปริมาณตามความต้องการของลูกค้า
จากสถานการณ์ปัจจุบัน หากเกิดการสูญเสียและความสูญเปล่าขึ้น จากกระบวนการผลิตซึ่งมีผลกระทบจากการทำงานของเครื่องจักรที่ไม่เต็มประสิทธิภาพและเสียบ่อย ประการแรก คือ การสูญเสียค่าใช้จ่ายแฝง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าความสูญเสียเกิดจากเครื่องจักรมากจะทำให้มีผลกระทบโดยตรงต่อระบบการผลิต เป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายจากความสูญเปล่าหลัก 7 ประการ (7 Waste) ตามไปด้วย ทำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง จำเป็นต้องเข้าใจค่าวัดประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร (OEE) เพื่อทำการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและลดอาการเสียของเครื่องจักรที่ไม่พึงปรารถนาในการผลิต อีกด้วย
ในหลักสูตรนี้เป็นการกล่าวถึงที่มาที่ไปของการวัดค่าโดยรวมของเครื่องจักรอุปกรณ์ หรือ OEE (Overall Equipment Effectiveness) ซึ่งถือเป็นดัชนีความสำเร็จในภาพรวม โดยพิจารณาที่ผลลัพธ์เป็นสำคัญ กล่าวคือ การพิจารณาที่การใช้ประโยชน์จากเครื่องจักร การใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบและการทำงานได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ นอกจากนั้นยังจำเป็นต้องมีหน่วยวัดอื่น เช่น การวัดระยะเวลาเฉลี่ยที่เครื่องจักรใช้งานได้ก่อนการเสียหาย หรือ MTBF (Mean Time Between Failure) และระยะเวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการแก้ไขเมื่อเครื่องจักรเสียแต่ละครั้ง หรือ MTTR (Mean Time To Repair) เป็นต้น รวมถึงหลักการซ่อมบำรุงรักษาด้วยตนเองเบื้องต้นของผู้ที่อยู่หน้าเครื่องจักร (AM)ทั้ง 8 ด้านที่ควรรู้ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถรับรู้ถึงประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องจักรไปพร้อม วัดประสิทธิผลของการปฏิบัติที่ค่าประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรอุปกรณ์ หรือ OEE (Overall Equipment Effectiveness) ซึ่งถือเป็นดัชนีความสำเร็จในภาพรวม โดยพิจารณาที่ผลลัพธ์เป็นสำคัญ กล่าวคือ การพิจารณาที่การใช้ประโยชน์จากเครื่องจักร การใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบและการทำงานได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ นอกจากนั้นยังจำเป็นต้องมีหน่วยวัดอื่น เช่น การวัดระยะเวลาเฉลี่ยที่เครื่องจักรใช้งานได้ก่อนการเสียหาย หรือ MTBF (Mean Time Between Failure) และ ระยะเวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการแก้ไขเมื่อเครื่องจักรเสียแต่ละครั้ง หรือ MTTR (Mean Time To Repair) เป็นต้น รวมถึงหลักการซ่อมบำรุงรักษาด้วยตนเองเบื้องต้นของผู้ที่อยู่หน้าเครื่องจักร (AM) ทั้ง 8 ด้านที่ควรรู้ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถรับรู้ถึงประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องจักรไปพร้อม ๆ กันเพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงเครื่องจักรอย่างต่อเนื่องต่อไป
วัตถุประสงค์
· เพื่อสร้างความเข้าใจต่อต้นทุนการผลิต และสร้างผลกำไรให้กับบริษัท
· เพื่อเสริมสร้างแนวคิดการป้องกัน การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาเครื่องจักรอย่างเป็นมีรูปแบบ
· เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุง และพัฒนาเครื่องจักร ด้วยการวัดค่าจาก OEE
· เพื่อสร้างการทำงานเป็นทีม การยอมรับในความเห็นที่แตกต่าง เกิดความสามัคคี
· เพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับผู้เข้ารับการอบรม
หัวข้อการอบรม
· องค์ประกอบของธุรกิจ ต้นทุน กำไร และรายได้
· พื้นฐานการผลิตตามหลักการ 4M+1I
· องค์ประกอบที่สำคัญในสายการผลิตที่ประสบผลสำเร็จ
· บทบาทและความรับผิดชอบของพนักงานฝ่ายผลิตในสายงานซ่อมบำรุง
· ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความสูญเสียในกระบวนการผลิต
· การบำรุงรักษาแบบ TPM คืออะไร และความจำเป็นในการทำกิจกรรม TPM
· หลักการและขั้นตอนการบำรุงรักษาด้วยตนเองที่นำไปประยุกต์ใช้งาน
· การหาค่าเฉลี่ยการซ่อม MTTR และการหาค่าเฉลี่ยการผลิต MTBF ในแต่ละวัน
· หลักการคำนวณและแนวทางการหาค่า OEE ที่มีประสิทธิภาพ
o การหาค่าอัตราการเดินเครื่อง Availability
o การหาค่าประสิทธิภาพการเดนเครื่อง Performance Efficiency
o อัตราคุณภาพ Quality Rate
o การหาค่า OEE
o วิธีการเพิ่มประสิทธิภาพค่า OEE
· กิจกรรมเสริมที่ช่วยให้การบำรุงรักษาเครื่องจักรประสบความสำเร็จ
· กรณีศึกษาจากกิจกรรม Seiso – Inspection และกรณีศึกษาจากตัวอย่างจริง
กลุ่มเป้าหมาย หัวหน้างาน พนักงาน และผู้ที่สนใจทั่วไป
ระยะเวลาการฝึกอบรม (Time) หลักสูตร ONLINE 3 ชั่วโมง เวลา 09.00 - 12.00 น.
รูปแบบการอบรม (Methodology)
1. Zoom Online Meeting บรรยาย พร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา สนทนาและตอบข้อซักถาม
2. เอกสารประกอบการบรรยายจะจัดส่งเป็นไฟล์ PDF ให้ก่อนวันอบรม 2-3 วัน
วิทยากรในการฝึกอบรม อาจารย์ไมตรี บุญขันธ์
การศึกษา
Ø Quality Management System: Lead auditor ISO 9001: 2015(IRCA Certified)
Ø Environmental management System: ISO 14001: 2015 (IRCA Certified)
Ø ประกาศนียบัตรการอนุรักษ์พลังงานในโรงงานและอาคาร (กระทรวงพลังงาน)
Ø ปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สาขาการจัดการ) กำลังศึกษา
Ø ปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาการจัดการอุตสาหกรรม)
Ø ปริญญาตรี ครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า)
ความเชี่ยวชาญพิเศษในหลักสูตรฝึกอบรม (Productivity Improvement)
- ISO 9001 : 2015 Requirement training course
- Course of Total Productive Maintenance (TPM) การบำรุงรักษาแบบทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วม
- Total Quality Management (TQM) การบริหารงานคุณภาพทั่วทั้งองค์กร
- Continues Improvement by Kaizen การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องด้วยไคเซ็น
- Effectiveness for QCC Activity การดำเนินกิจกรรมกลุ่มคิวซีซี อย่างมีประสิทธิภาพฃ
- 5S for Productivity improvement 5ส. เพื่อการเพิ่มผลผลิต
- PDCA improvement การปรับปรุงงานด้วยหลักการ PDCA
ฯลฯ
ประสบการณ์ทำงาน
- หัวหน้างานวิศวกรรมซ่อมบำรุงและฝ่ายบริหารการผลิตในภาคอุตสาหกรรม กว่า 15 ปี
- ผู้จัดการฝ่ายวิศวกรรมสนับสนุน : MHC metal engineering (Thailand) Co., Ltd.
- ผู้จัดการฝ่ายปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ : Thai Filtration Co., Ltd
ฯลฯ
กำหนดการ วันเสาร์ที่ 2 เมษายน 2565
สถานที่ Zoom Online Meeting
ราคา 1,500 บาท
- ราคายังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
- นิติบุคคล สามารถหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
รายการค่าลงทะเบียน
|
ราคา + vat 7%
|
ราคาหลังหัก ณ ที่จ่าย 3%
|
: 1 ท่าน
|
1,500 + 105 = 1,605
|
1,605 – 45 = 1,560
|
กรุณดาวน์โหลดหลักสูตรและใบลงทะเบียนที่นี่ หรือกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มด้านล่างเพื่อลงทะเบียน