แนวปฏิบัติเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้การดำเนินการตามกฎหมายเป็นไปอย่างสมเหตุสมผล ซึ่งกฎหมายโดยทั่วไปแล้วจะบัญญัติไว้เพียงในระดับที่กำหนด “การห้าม” เป็นหลักการไว้เท่านั้น แต่ในขั้นตอนปฏิบัติย่อมไม่สามารถระบุรายละเอียดวิธีการได้โดยสมบูรณ์ จึงมีคำถามเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติว่าควรทำ “อย่างไร”เพื่อให้องค์กรสามารถดำเนินกิจการให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้อย่างเหมาะสม
ดังนั้น จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมเพื่อให้มีความเข้าใจและปฏิบัติให้ถูกต้องตามสิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบตามกรอบกฎหมายฉบับนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO) ประจำองค์กร ที่กฎหมายกำหนดให้มีขึ้นพร้อมกำหนดบทบาทหน้าที่รับผิดชอบ เป็นผู้ให้คำแนะนำและตรวจสอบการดำเนินการของผู้ประกอบการให้เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมายฉบับนี้ จึงมีคำถามเกิดขึ้นมากมายว่า แล้ว DPO ควรมีบทบาทหน้าที่และแนวการปฏิบัติงานอย่างไร ?
วัตถุประสงค์การฝึกอบรม
1. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและสาระสำคัญของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
2. เพื่อสร้างความเข้าใจในกระบวนการเตรียมความพร้อมขององค์กรเพื่อให้สอดคล้องกับเงื่อนไขตามกฎหมาย อาทิ การให้ความยินยอม กระบวนการเพื่อรองรับการใช้สิทธิต่างๆ ของเจ้าของข้อมูล
3. สามารถจัดทำ แนวปฏิบัติเพื่อการประเมินความเสี่ยง/ผลกระทบด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ตามของเขต DPIA และ ทบทวน (Review)การปฏิบัติภายในองค์กร ว่ามีความเพียงพอหรือสอดคล้องตามกฎหมายแล้วหรือไม่
4. สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานในบทบาทของ เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หัวข้อการอบรม
➢ เหตุผลและความเป็นมาของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562
➢ สาระสำคัญของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
· ข้อมูลส่วนบุคคลคืออะไร และใครคือเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
· ตัวบุคคลและบทบาทหน้าที่ของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) และเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO)
· สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และการใช้สิทธิต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด
· หลักการขอความยินยอม - การเก็บ - การใช้ - การเปิดเผย ข้อมูลส่วนบุคคล
· ฐานในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
· ความรับผิดและบทลงโทษดตามกฎหมาย ทั้งทางแพ่ง - ทางอาญา - โทษทางปกครอง
➢ ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมกับ 15ภารกิจที่องค์กรต้องทำ
➢ การจัดเตรียมเอกสารและแบบฟอร์มต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับ PDPA อาทิ หนังสือให้ความยินยอมเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล (Consent From) เอกสารแจ้งข้อมูลการประมวลผลข้อมูล (Privacy Notice) ข้อตกลงประมวลผลข้อมูล (Data Processing Agreement) คำร้องขอใช้สิทธิต่างๆ ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Request Form) เป็นต้น
➢แนวการทบทวน (Review) การปฏิบัติภายในองค์กร ว่ามีความเพียงพอหรือสอดคล้องตามมาตรฐานการจัดการเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล
➢ แนวปฏิบัติการประเมินผลกระทบด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล DPIA (Data Protection ImpactAssessment) และการวิเคราะห์ความเสี่ยง/มาตรการจัดการความเสี่ยง
➢ การเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection OfficerGuideline)
· ความจำเป็น ทักษะและคุณสมบัติที่เหมาะสมของเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
· ข้อควรระวังที่มีต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
· ความรับผิดของเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
· 6 ภารกิจหลักกับ 11 แนวปฏิบัติที่อยู่ในความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ตามมาตรา 42
- การเตรียมตัวและทำความเข้าใจขอบเขตของการประมวลผลข้อมูลฯ
- การให้คำปรึกษา/ทบทวนการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลขององค์กร
- การตรวจสอบการปฏิบัติงานขององค์กรให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
- การควบคุมดูแลให้การปฏิบัติเป็นไปตามนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลทั้งภายในและภายนอก
- การให้ความร่วมมือและการประสานงานกับหน่วยงานด้านการกับกับดูแลข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.)
- การจัดการคำร้องขอและข้อร้องเรียนของเจ้าของข้อมูล
➢ แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการการจัดทำข้อมูลนิรนาม(Guideline for Anonymization)
➢ แนวปฏิบัติเกี่ยวกับข้อมูลอ่อนไหว (Guidelines for Sensitive Personal Data)
➢ ฝึกปฏิบัติ (Workshop)
- การจัดทำ Personal Data Discovery
- การจัดทำบันทึกรายการประมวลผลข้อมูลฯ (ROPA)
- การประเมินผลกระทบด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPIA)
- การร่างนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และแบบฟอร์ม PDPA ที่เกี่ยวข้อง
➢ ประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับ เจ้าหน้าคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม นายจ้าง และ เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO)
ระยะเวลาการฝึกอบรม (Time) หลักสูตร ONLINE 6 ชั่วโมง เวลา 09.00 -16.00 น. (รับวุฒิบัตร)
รูปแบบการอบรม (Methodology)
1. Zoom Online Meeting บรรยาย พร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา สนทนาและตอบข้อซักถาม
2. เอกสารประกอบการบรรยายจะจัดส่งเป็นไฟล์ PDF ให้ก่อนวันอบรม 2-3 วัน
วิทยากร อาจารย์พงศา บุญชัยวัฒนโชติ
อดีตกรรมการบริหารองค์กร และผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคล ขององค์กรชั้นนำหลายแห่ง
ประสบการณ์งานบริหารทรัพยากรบุคคลและองค์กรมากกว่า 30 ปี อาทิ
ü Plantheon Group Companies.
ü CIMB Thai Bank, Co., LTD.
ü Thai Glass Industry, Co., LTD.
ปัจจุบันเป็นวิทยากร อาจารย์ ที่ปรึกษา ด้านบริหารองค์กรและทรัพยากรบุคคล ให้กับองค์กรต่าง ๆ
ผลงานเขียน หนังสือ HRMBA “จุดประกายความคิด เสริมอาวุธการบริหารคน”, หนังสือ SMART JD “คำบรรยายลักษณะงานที่กระชับ ฉลาด คล่องแคล่ว ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย”
กำหนดการ วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566
สถานที่ Zoom Online Meeting
ราคา 2,500 บาท
- ราคายังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
- นิติบุคคล สามารถหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
รายการค่าลงทะเบียน
|
ราคา + vat 7%
|
ราคาหลังหัก ณ ที่จ่าย 3%
|
: 1 ท่าน
|
2,500 + 175 = 2,675
|
2,675 – 75 = 2,600
|
5 ท่านขึ้นไป ท่านละ
|
2,300 + 161 = 2,461
|
2,461 – 69 = 2,392
|
กรุณาดาวน์โหลดหลักสูตรและใบลงทะเบียนที่นี่ หรือกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มด้านล่างเพื่อลงทะเบียน