จากการที่เทคโนโลยีดิจิทัลได้เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันและการดำเนินธุรกิจในเกือบทุกด้าน ส่งผลให้การเก็บข้อมูล การใช้ และการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลทำได้โดยง่าย และก่อเกิดประโยชน์แล้ว อีกด้านหนึ่งก็อาจสร้างความเดือดร้อนหรือความเสียหายได้ หากนำข้อมูลส่วนบุคคลไปแสวงหาประโยชน์ หรือเปิดเผยโดยไม่ได้รับความยินยอม ดังนั้น ประชาชนหรือองค์กรต่างๆ จำเป็นจะต้องตระหนักรู้ และเตรียมความพร้อมเพื่อให้มีความเข้าใจและปฏิบัติให้ถูกต้องตามสิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบตามกรอบกฎหมาย ที่เรียกว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 (Personal Data Protection Act B.E. 2562 (2019) หรือ PDPA)
วัตถุประสงค์การฝึกอบรม
1. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและสาระสำคัญของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
2. เพื่อสร้างความเข้าใจในกระบวนการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการเพื่อให้สอดคล้องกับเงื่อนไขตามกฎหมาย อาทิ การให้ความยินยอม กระบวนการเพื่อรองรับการใช้สิทธิอื่นๆ ของเจ้าของข้อมูล
3. เพื่อให้นายจ้าง ฝ่ายบุคคล และหัวหน้างาน ได้นำความรู้ไปประยุกต์ใช้บริหารทรัพยากรบุคคลในองค์กรให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้
หัวข้อการอบรม
1. เหตุผลและความเป็นมาของ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
2. สาระสำคัญของ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
· ข้อมูลส่วนบุคคลคืออะไร และใครคือเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
· ในองค์กรภาคธุรกิจ หน่วยงานใดเกี่ยวข้องกับ PDPA บ้าง
· ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ประมวลข้อมูลส่วนบุคคล คือใคร ? บทบาทหน้าที่ของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Controller) ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Processor) และเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO)
· สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล มีอะไรบ้าง
· หลักการขอความยินยอม - การเก็บ - การใช้ - การเปิดเผย ข้อมูลส่วนบุคคล
· ความรับผิดและบทลงโทษตามกฎหมาย ทั้งทางแพ่ง - ทางอาญา - โทษทางปกครอง
3. 9 สิ่งที่องค์กรควรเตรียมพร้อมก่อน PDPA บังคับใช้
4. แนวปฏิบัติการประเมินผลกระทบด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล PDIA (Data Protection Impact Assessment) และการวิเคราะห์ความเสี่ยง/มาตรการจัดการความเสี่ยง
5. การเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติตาม พรบ. PDPA ของ HR
· นายจ้างและฝ่าย HR มีส่วนเกี่ยวข้องกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างไรบ้าง?
· สิทธิของนายจ้างในการขอข้อมูล – เก็บ – ใช้ - เปิดเผย ข้อมูลของพนักงาน
· การปรับเปลี่ยนข้อบังคับเกี่ยวกับการทางาน / สัญญาจ้าง / ใบสมัครงาน และแบบฟอร์มเอกสาร PDPA ที่ต้องมีใช้ในการดำเนินงานด้าน HR
· แนวทางร่างนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับพนักงาน (HR Privacy Policy)
6. การจัดเตรียมเอกสาร PDPA ของ HR
· หนังสือให้ความยินยอมข้อมูลส่วนบุคคล (Consent From)
· เอกสารแจ้งข้อมูลการประมวลผลข้อมูล (Privacy Notice)
· การจัดทำข้อตกลงระหว่างนายจ้าง กับ Outsource (Data Processing Agreement)
· เอกสารคำร้องขอใช้สิทธิต่าง ๆ ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Request Form)
· เอกสารและแนวปฏิบัติกรณีมีคำร้องขอหรือคำสั่งให้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลแก่หน่วยงานของรัฐ (Government Request) ฯลฯ
7. ประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กับการจ้างแรงงาน อาทิ
· การขอข้อมูลส่วนบุคคลของลูกจ้างและผู้สมัครงาน ต้องปฏิบัติอย่างไร?
· กรณีไม่รับผู้สมัครงานเข้าทำงาน จะต้องทำอย่างไร ? กับข้อมูลที่ผู้สมัครงานได้แจ้งไว้
· ลูกจ้างเปิดเผยข้อมูลของเพื่อนพนักงานรั่วไหล เช่น เงินเดือน ใครต้องรับผิด ?
· การประเมินผลการทำงาน เป็นข้อมูลส่วนบุคคลได้หรือไม่ จะเปิดเผยต่อบุคคลอื่นที่สอบถามมาได้หรือไม่ ?
· HR โทรถามข้อมูลจากบุคคลอ้างอิงที่ผู้สมัครงานเขียนไว้ได้หรือไม่
· ลูกจ้างจะยกเลิกการให้ความยินยอม ทำได้หรือไม่ ? และนายจ้างต้องยกเลิกด้วยหรือไม่ ?
· ฯลฯ
คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม นายจ้าง เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล หัวหน้างาน และเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้อง
ระยะเวลาการฝึกอบรม (Time) หลักสูตร ONLINE 6 ชั่วโมง เวลา 09.00 -16:00 น. (รับวุฒิบัตร)
รูปแบบการอบรม (Methodology)
1. Zoom Online Meeting บรรยาย พร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา สนทนาและตอบข้อซักถาม
2. เอกสารประกอบการบรรยายจะจัดส่งเป็นไฟล์ PDF ให้ก่อนวันอบรม 2-3 วัน
วิทยากร อาจารย์พงศา บุญชัยวัฒนโชติ
อดีตกรรมการบริหารองค์กร และผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคล ขององค์กรชั้นนำหลายแห่ง
ประสบการณ์งานบริหารทรัพยากรบุคคลและองค์กรมากกว่า 30 ปี อาทิ
ü Plantheon Group Companies.
ü CIMB Thai Bank, Co., LTD.
ü Thai Glass Industry, Co., LTD.
ปัจจุบันเป็นวิทยากร อาจารย์ ที่ปรึกษา ด้านบริหารองค์กรและทรัพยากรบุคคล ให้กับองค์กรต่าง ๆ
ผลงานเขียน หนังสือ HRMBA “จุดประกายความคิด เสริมอาวุธการบริหารคน”, หนังสือ SMART JD “คำบรรยายลักษณะงานที่กระชับ ฉลาด คล่องแคล่ว ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย”
กำหนดการ วันที่ 19 ตุลาคม 2565
สถานที่ Zoom Online Meeting
ราคา 2,500 บาท
- ราคายังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
- นิติบุคคล สามารถหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
รายการค่าลงทะเบียน
|
ราคา + vat 7%
|
ราคาหลังหัก ณ ที่จ่าย 3%
|
: 1 ท่าน
|
2,500 + 175 = 2,675
|
2,675 – 75 = 2,600
|
กรุณาดาวน์โหลดหลักสูตรและใบลงทะเบียนที่นี่ หรือกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มด้านล่างเพื่อลงทะเบียน