
ลูกค้า/ผู้ใช้บริการทั้งภายในและภายนอกองค์กรต่างคาดหวังว่า ทุกครั้งที่ต้องติดต่อสัมพันธ์ หรือมีการทำงานร่วมกัน พวกเขาจะได้รับบริการที่อยู่ในระดับมาตรฐานอย่างน้อยไม่ต่ำกว่าเดิม หลายคนต่างเชื่อว่า การจะคงมาตรฐานไว้สามารถทำได้ด้วยวิธีการพัฒนาบุคลากรให้ตระหนักและให้ความสำคัญกับคุณภาพงาน และคุณภาพการบริการอย่างสม่ำเสมอ มีระบบการติดตามงานอย่างเข้มงวด อย่างไรก็ตามเป็นที่รู้กันว่า ความแปรปรวนของอารมณ์และความรู้สึกของพนักงานเป็นปัจจัยหนึ่งที่อาจทำให้วิธีการทำงานที่กำหนดไว้ไม่สามารถยืนหยัดในรูปแบบเดิมได้ตลอดเวลา
ดังนั้นหลายๆ องค์กร จึงไม่ฝากความหวังไว้ที่พนักงาน หากแต่ใช้วิธีการพัฒนาระบบการจัดการที่ช่วยให้มาตรฐานคุณภาพยังคงที่ เช่น การนำระบบ ISO เข้ามากำกับการปฏิบัติงาน รวมถึงใช้การถอดบทเรียน และจัดทำเป็นคู่มือการปฏิบัติงาน (Work Manual/Work Instruction)
หลักสูตรการอบรมนี้ออกแบบมาเพื่อให้ผู้บริหาร หัวหน้างาน และพนักงานสามารถเรียนรู้ร่วมกันได้ เนื้อหาการเรียนรู้เน้นเทคนิค และเครื่องมือต่าง ๆ ในการวิเคราะห์งาน ออกแบบงาน ปรับปรุงกระบวนการทำงาน เพื่อจะช่วยให้ผลงานมีคุณภาพที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
วัตถุประสงค์ในการฝึกอบรม
1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ แนวคิด เกี่ยวกับกระบวนการทำงาน (Work flow)
2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาการทำงาน และแนวทางในการยกระดับคุณภาพของงานให้มีมาตรฐานที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถออกแบบกระบวนการทำงาน และสามารถทบทวนได้เองเมื่อเกิดภาวะที่จำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไข อีกทั้งสามารถเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกระบวนการทำงานใหม่และกระบวนการทำงานเดิมในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพได้เอง ซึ่งจะช่วยให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถตัดสินใจเลือกแนวทางการทำงานได้เหมาะสมกับองค์กรในภาวะการณ์ต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี
เนื้อหาการอบรม
▪ ความหมายของงานในมิติต่าง ๆ
▪ การสร้างจิตสำนึกของการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement)
▪ องค์ประกอบของการทำงานให้ประสบความสำเร็จ
▪ การวิเคราะห์งานของตำแหน่งต่าง ๆ
▪ การออกแบบกระบวนการทำงานด้วยหลัก PDCA
▪ อธิบายกระบวนการปฏิบัติงานง่าย ๆ ด้วย Chart
▪ เหตุผลความจำเป็น และวิธีการจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน
▪ ฝึกปฏิบัติ: การจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน
▪ รู้ได้อย่างไรว่าจะต้องเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานแล้ว
▪ วิธีตรวจสอบกระบวนการทำงานว่าล้าสมัยแล้วหรือยังด้วย Workload Analysis
▪ การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกระบวนการทำงานเดิมกับกระบวนการทำงานใหม่ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เพื่อการตัดสินใจยกระดับให้มีคุณภาพดีขึ้น
▪ ฝึกปฏิบัติ: วิเคราะห์ภาระงาน (Workload Analysis)
▪ ถาม-ตอบ และให้ข้อเสนอแนะ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ผู้เข้าอบรมจะสามารถวิเคราะห์ และออกแบบกระบวนการทำงาน (Workflow) รวมทั้งมีหลักเกณฑ์ในการปรับปรุงและแก้ไขกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นได้
กลุ่มเป้าหมาย ผู้ควรได้รับการอบรมในเรื่องนี้ คือ บุคลากรทุกระดับ
วิธีการฝึกอบรม
- การบรรยาย และการยกตัวอย่าง 40%
- การลงมือปฏิบัติในชั้นเรียน (Workshop) 50%
- การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ของผู้อบรมท่านอื่นๆ 10%
วิทยากรในการฝึกอบรม : อาจารย์ ดร.สันติชัย อินทรอ่อน
- ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) สาขารัฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารทรัพยากรมนุษย์) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร
ประสบการณ์การทำงาน
- ผู้จัดการพัฒนาธุรกิจทรัพยากรบุคคลและที่ปรึกษาด้านทรัพยากรบุคคล บริษัท โกลบัล คอนเซิร์น จำกัด
- นักวิจัย สถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ช่วยที่ปรึกษา บริษัท เอเชียแปซิฟิคคอนซัลแตนท์ จำกัด
กำหนดการ วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม 2567
สถานที่ โรงแรมเมอเวนพิค สุขุมวิท 15
ราคา/ท่าน
|
Vat 7%
|
ราคารวม Vat
|
หัก ณ
ที่จ่าย 3%
|
ราคาหลังหัก
ณ ที่จ่าย
|
ราคาปกติ
|
4,000
|
280
|
4,280
|
120
|
4,160
|
สมาชิก,โอนก่อน 1 สัปดาห์
|
3,700
|
259
|
3,959
|
111
|
3,848
|
3 ท่านขึ้นไป
|
3,400
|
238
|
3,638
|
102
|
3,536
|
5 ท่านขึ้นไป
|
3,000
|
210
|
3,210
|
90
|
3,120
|
หมายเหตุ – ค่าลงทะเบียน รวมค่าเอกสาร, อาหาร เครื่องดื่ม น้ำชา กาแฟ
– ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมสัมมนาสามารถหักลดหย่อนภาษีได้ 200%
กรุณาดาวน์โหลดหลักสูตรและใบลงทะเบียนที่นี่ l หรือกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มด้านล่างเพื่อลงทะเบียน