บทนำ
“งบการเงิน” เป็นเอกสารที่สำคัญยิ่งเพราะเป็นผลงานของฝ่ายบัญชีในการแสดงสถานะการเงินผ่านรายการในงบดุล และแสดงสถานะของผลการดำเนินงานผ่านงบกำไรและขาดทุน ซึ่งงบการเงินนี้เป็นรายงานทางบัญชีที่ต้องจัดทำตามมาตรฐานการบัญชี และต้องผ่านการตรวจสอบบัญชีโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามมาตรฐานการสอบบัญชี ความสำคัญของงบการเงินนั้น อยู่ที่ความถูกต้องและเชื่อถือได้ รายการในงบการเงินจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านงบการเงินทั้งเจ้าของกิจการ เจ้าหนี้ ลูกหนี้ พนักงาน หน่วยราชการและนักลงทุน ในการจัดทำงบการเงินจึงต้องมีความถูกต้อง ครบถ้วนชัดเจน ดังนั้นผู้จัดทำงบการเงินจะต้องมีทั้งความรู้ ความเข้าใจ เทคนิคและข้อควรระวังในการจัดทำงบการเงินอย่างลึกซึ้ง
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเทคนิคในการจัดทำงบการเงินให้มีความถูกต้อง ครบถ้วนและชัดเจน
2. เพื่อให้สามารถรู้ข้อควรระวังในการจัดทำงบการเงินอย่างสมบูรณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อเจ้าของกิจการ พนักงาน เจ้าหนี้ ลูกหนี้ นักลงทุน รวมถึงหน่วยราชการตามมาตรฐานการบัญชี
3. เพื่อให้การจัดทำงบการเงินเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี และผ่านการตรวจสอบบัญชีตามมาตรฐานการสอบบัญชี
หลักสูตรนี้เหมาะกับ
1. ผู้จัดการฝ่ายบัญชี ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายบัญชี หัวหน้าฝ่ายบัญชีและพนักงานบัญชี
2. ผู้จัดการฝ่ายบริหาร ผู้จัดการโรงงาน ผู้จัดการทั่วไป
3. นักลงทุน ผู้ช่วยผู้สอบบัญชี และนักบัญชีมือใหม่
เนื้อหาหลักสูตร:
บทที่ 1: หลักการบัญชีตามมาตรฐานการบัญชี
· หลักการพื้นฐานของการบัญชีตามมาตรฐานการบัญชี
· ประเภทของงบการเงิน ความสำคัญและประโยชน์ของงบการเงิน
บทที่ 2: หัวใจสำคัญในการจัดทำงบการเงิน
· หัวใจสำคัญของการจัดทำงบดุล และองค์ประกอบสำคัญในงบดุล
· หัวใจสำคัญของการจัดทำงบกำไรขาดทุน และองค์ประกอบสำคัญในงบกำไรขาดทุน
บทที่ 3: เทคนิคการจัดทำงบกำไรขาดทุน และข้อควรระวัง
· การกำหนดประเภทรายได้และเกณฑ์การรับรู้รายได้
· รายได้ที่ไม่เป็นไปตามประมวลรัษฎากร
· การกำหนดประเภทรายจ่ายตามประเภทธุรกิจ
· องค์ประกอบของต้นทุนการผลิตและบริการ
· เกณฑ์การกำหนดประเภทค่าใช้จ่ายที่ถูกต้องเหมาะสม
· หลักเกณฑ์ในการพิจารณาค่าใช้จ่ายที่ไม่เป็นไปตามประมวลรัษฎากร
· หลักเกณฑ์ในการคำนวณกำไรขั้นต้นที่ถูกต้อง
· หลักเกณฑ์ในการคิดค่าเสื่อมราคา วิธีการคำนวณค่าเสื่อมราคาสะสม
· การคิดค่าเสื่อมราคาที่มักผิดพลาด
· เกณฑ์ในการจัดสรรค่าเสื่อมราคาเป็นต้นทุนหรือค่าใช้จ่าย
· วิธีคำนวณกำไรสุทธิ และภาษีนิติบุคคล
บทที่ 4: หลักสำคัญในการจัดทำงบดุล และข้อควรระวัง
· วิธีการสรุปยอดเงินสดย่อย เงินสดในมือ
· หลักในการสรุปยอดเงินฝากธนาคารที่ครบถ้วนถูกต้อง
· ประเภทของลูกหนี้ และหลักเกณฑ์ในการสรุปยอดลูกหนี้
· วิธีในการยืนยันยอดลูกหนี้ ทั้งความถูกต้องและการมีอยู่จริงของลูกหนี้รายตัว
· หลักเกณฑ์ในการสรุปยอดรายการสินค้าคงเหลือ แต่ละประเภท
· วิธีการได้มาซึ่งตัวเลขของสินค้าคงเหลือที่ถูกต้อง ครบถ้วน
· การจัดประเภทรายการสินทรัพย์ถาวร วิธีการจัดทำและตรวจสอบทะเบียนทรัพย์สิน
· หลักการแสดงรายการสินทรัพย์ถาวรในงบการเงินที่ถูกต้อง
· รายการค่าใช้จ่ายค้างจ่าย ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า รายได้ค้างรับ รายได้รับล่วงหน้า
· การแสดงรายการสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น และสินทรัพย์อื่นในงบการเงิน
· หลักเกณฑ์ในการแสดงรายการหนี้สินหมุนเวียนและหนี้สินไม่หมุนเวียน
· ประเภทของเจ้าหนี้ และหลักเกณฑ์ในการสรุปยอดเจ้าหนี้
· วิธีการยืนยันยอดเจ้าหนี้ ทั้งความถูกต้องและการมีอยู่จริงของเจ้าหนี้รายตัว
· วิธีการสรุปยอดรายการหนี้สินระยะยาว
· วิธีการแสดงรายการส่วนของเจ้าของ ทั้งกำไรสะสมหรือขาดทุนสะสม
บทที่ 5: หลักสำคัญในการวิเคราะห์งบการเงินสำหรับผู้บริหาร และนักลงทุน
· หัวใจสำคัญในการวิเคราะห์งบการเงิน งบดุล งบกำไรขาดทุน
· ประเภทของการวิเคราะห์งบการเงิน และสูตรการคำนวณอัตราส่วนแต่ละชนิด
· วิธีการคำนวณอัตรากำไรสุทธิ Net Profit Margin
· วิธีการคำนวณอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น Return on Equity (ROE)
· วิธีการคำนวณอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ Return on Assets (ROA)
· วิธีการคำนวณมูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น Book Value per Share (BV)
· วิธีการคำนวณกำไรสุทธิต่อหุ้น Earnings per Share
บทที่ 6: หลักสำคัญในการจัดทำงบกระแสเงินสด
· หัวใจหลักในการจัดทำงบกระแสเงินสด
· วิธีการจัดทำงบกระแสเงินสดที่ถูกต้อง
วิธีการฝึกอบรม
1. บรรยายเนื้อหา, ตัวอย่างประกอบ
2. Workshop
วิทยากร อาจารย์กุหลาบ เจียมจิตรพานิช
ผู้เชี่ยวชาญด้าน
ระบบการบริหารคุณภาพ ISO 9001:2015 การควบคุมคุณภาพ การบริหารความเสี่ยง
ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001:2015 การบริหารงานจัดซื้อ การบริหารฝ่ายขายระบบการบัญชีและการสอบบัญชี การวิเคราะห์งบการเงิน การจัดทำงบประมาณ การลดต้นทุน ระบบการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร การบริหารคลังสินค้า การเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
ประวัติการศึกษา
· ปริญญาโท : คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
· ปริญญาตรี : คณะบริหารธุรกิจ สาขาการบัญชี มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ประสบการณ์
Ø ตัวแทนฝ่ายบริหารระบบการบริหารคุณภาพ (QMR) ISO 9001:2015
Ø ตัวแทนฝ่ายบริหารระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (EMR) ISO 14001:2015
Ø ผู้จัดการฝ่ายการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร TQM Manager
Ø ผู้จัดการฝ่ายควบคุมคุณภาพ QC Manager
Ø ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายขาย Sale Senior Manager
Ø ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ Purchasing Manager
Ø ผู้จัดการฝ่ายบัญชี Accounting Manager
ความสามารถพิเศษ:
Ø การเจรจาการค้าระหว่างประเทศด้วยภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่น
Ø การสนทนาภาษาญี่ปุ่น ทั้งที่ใช้ในชีวิตประจำวัน และใช้ในการทำงาน
กำหนดการ วันอังคารที่ 15 ตุลาคม 2567 เวลา 09.00-16.00 น.
สถานที่ โรงแรม Rembrandt Hotel Bangkok สุขุมวิท ซอย 15-20
ราคา/ท่าน
|
Vat 7%
|
ราคารวม Vat
|
หัก ณ
ที่จ่าย 3%
|
ราคาหลังหัก
ณ ที่จ่าย
|
ราคาปกติ
|
4,000
|
280
|
4,280
|
120
|
4,160
|
สมาชิก,โอนก่อน 1 สัปดาห์
|
3,700
|
259
|
3,959
|
111
|
3,848
|
3 ท่านขึ้นไป
|
3,400
|
238
|
3,638
|
102
|
3,536
|
5 ท่านขึ้นไป
|
3,000
|
210
|
3,210
|
90
|
3,120
|
หมายเหตุ – ค่าลงทะเบียน รวมค่าเอกสาร, อาหาร เครื่องดื่ม น้ำชา กาแฟ
– ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมสัมมนาสามารถหักลดหย่อนภาษีได้ 200%
กรุณาดาวน์โหลดหลักสูตรและใบลงทะเบียนที่นี่ หรือกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มด้านล่างเพือลงทะเบียน