ในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Personal Income Tax) ตามประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรได้แบ่งประเภทของเงินได้พึงประเมินออกเป็น 8 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทนั้นเสียภาษีไม่เท่ากัน เพราะมีที่มาของต้นทุนเพื่อการทำงานที่แตกต่างกัน อาทิ เงินได้จากการจ้างแรงงาน (มนุษย์เงินเดือน) การจ้างบริการทั่วไป การจ้างบริการวิชาชีพอิสระหรือวิชาชีพอื่นๆ การจ้างที่เป็นรับเหมาหรือธุรกิจการให้บริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการปรับปรุงประมวลรัษฎากรล่าสุดเพื่อให้มีการขยายฐานภาษีและจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้ได้เพิ่มมากขึ้น กรมสรรพากรได้มีการปรับลดอัตรา “เหมาจ่าย” (Lumpsum) ซึ่งเป็นต้นทุนของเงินได้พึงประเมินบางประเภทลง อาทิ สถานพยาบาลที่เป็นโพลีคลินิกจากเดิมอัตราเหมาจ่ายร้อยละ 75 มาเหลือเป็นร้อยละ 60 แต่อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบวิชาชีพอิสระที่เป็น “แพทย์” ที่เรียกว่า ผู้ประกอบโรคศิลปะ (Art of healing) นั้น กลับไม่ได้รับผลกระทบ ก็ยังคงหักค่าใช้จ่ายในอัตราเหมาได้อัตราร้อยละ 60 เช่นเดิม ด้วยเหตุนี้ “แพทย์” จึงเป็นผู้ถูกเพ่งเล็งในการตรวจสอบจากกรมสรรพากรมากที่สุด ในการทำสัญญาว่าจ้างระหว่างโรงพยาบาลกับแพทย์นั้นถูกต้องในคำว่า “ผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ” หรือไม่ อย่างไร ทั้งนี้ทั้งนั้น ได้มีการฟ้องร้อยกันหลายคดีและศาลฎีกาได้มีคำตัดสินให้คนไข้เป็นฝ่ายชนะ เพราะความสัมพันธ์ระหว่างโรงพยาบาลกับแพทย์ดังกล่าว ถือเป็นนายจ้างกับลูกจ้างไม่ใช่แพทย์เป็นผู้มาเช่าหรือใช้โรงพยาบาลเป็นคลินิกแต่อย่างใด ดังนั้น ผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์จะต้องพิสูจน์ให้เห็นถึงความชัดเจนในการทำสัญญาให้ “แพทย์ เป็น แพทย์” ที่ถือว่าอิสระระหว่างโรงพยาบาล/คลินิก/สถานพยาบาล/หรือสถานเสริมความงาม กับแพทย์ตามบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร ก่อนที่กรมสรรพากรจะเข้ามาทำการตรวจสอบ
หัวข้อการบรรยาย
1. ความแตกต่างของเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากรที่เกี่ยวข้องกับแพทย์
- เงินได้พึงประเมินจากการจ้างแรงงานตามมาตรา 40 (1)
- เงินได้พึงประเมินจากการรับทำงานให้ตามมาตรา 40 (2)
- เงินได้พึงประเมินจากวิชาชีพอิสระ ตามมาตรา 40 (6)
- เงินได้พึงประเมินจากการประกอบธุรกิจสถานพยาบาล ตามมาตรา 40 (8)
2. ความสัมพันธ์ของแพทย์กับโรงพยาบาลรัฐ/โรงพยาบาลเอกชน/สถานพยาบาลเสริมความงามหรือคลินิก
(1) เป็นข้าราชการประจำ และขอเปิดเป็นคลินิกพิเศษนอกเวลาราชการ ณ โรงพยาบาลของรัฐนั้น
(2) เป็นข้าราชการและไปเป็นหมอพิเศษนอกเวลาราชการ ณ โรงพยาบาลเอกชนหรือสถานพยาบาลอื่น
(3) เป็นข้าราชการ และได้เปิดคลินิกของตนต่างหากนอกเวลาราชการ
(4) เป็นข้าราชการ แต่นอกเวลาราชการได้เข้าไปตรวจรักษาให้กับบริษัทเอกชนตามวัน/เวลา ที่บริษัทกำหนด/หรือไปตรวจตามบ้านของผู้ป่วยเป็นกรณีฉุกเฉิน
(5) ไม่เป็นข้าราชการแต่เป็นลูกจ้าง/รับจ้างให้บริการ/หรือรับจ้างวิชาชีพอิสระในโรงพยาบาลเอกชน/สถานพยาบาล/หรือคลินิก
(6) ไม่เป็นข้าราชการแต่เป็น “แพทย์ฉุกเฉิน” (On Call) ในโรงพยาบาลของรัฐ/โรงพยาบาลเอกชน/สถานพยาบาล/หรือคลินิก
3. การวางแผนจัดรูปองค์กรทางธุรกิจเพื่อการเสียภาษีของแพทย์
4. การวางแผนภาษีในธุรกิจของโรงพยาบาลกับการบริหารพื้นที่ส่วนกลาง
5. การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกี่ยวกับกิจการของโรงพยาบาล
6. คุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์
วิทยากร รองศาสตราจารย์เพิ่มบุญ แก้วเขียว
- อดีตอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ที่ปรึกษากฎหมายธุรกิจและการวางแผนภาษีอากร
- วิทยากรด้านกฎหมายธุรกิจและการวางแผนภาษีอากร
- อาจารย์พิเศษด้านกฎหมายภาษีอากร
- ผู้เขียนหนังสือและบทความด้านกฎหมายธุรกิจและภาษีอากรลงวารสารต่างๆ
กำหนดการ
|
14 พฤศจิกายน 2567
|
บุคคลทั่วไป
|
4,500 + 315 = 4,815
|
เวลา
|
09.00-16.00 น.
|
สมาชิก, โอนเงินก่อน 1 สัปดาห์
|
4,300 + 301 = 4,601
|
|
ลงทะเบียน 3 ท่านขึ้นไป เหลือท่านละ 3,500 บาท
|
4,000 + 280 = 4,280
|
สถานที่
|
โรงแรมเมอเวนพิค สุขุมวิท 15 กรุงเทพฯ
|
หมายเหตุ – ค่าลงทะเบียน รวมค่าเอกสาร, อาหาร เครื่องดื่ม น้ำชา กาแฟ
– ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมสัมมนาสามารถหักลดหย่อนภาษีได้ 200%
กรุณาดาวน์โหลดหลักสูตรและใบลงทะเบียนที่นี่ l หรือกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มด้านล่างเพื่อลงทะเบียน