การบริหารองค์กรของฝ่าย “นายจ้าง” นอกเหนือจากการจ่ายค่าจ้างและสวัสดิการภาคบังคับให้แก่ลูกจ้างตามกฎหมายแล้ว ก็ยังต้องมีนโยบายจูงใจเพื่อสร้างขวัญกำลังใจผูกมัดลูกจ้างไว้ ไม่ให้เปลี่ยนใจไปทำงานกับองค์กรอื่น อันถือเป็นการสูญเสียต้นทุนที่เรียกว่า “ทรัพยากรมนุษย์” (Human Resource) ดังนั้น การจัดให้มี “สวัสดิการ” (Welfare) ภาคสมัครใจ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่นายจ้างจำเป็นต้องให้มีและวางแผนอย่างรัดกุม มิฉะนั้น จะมีปัญหาติดตามมาด้านการตัด “รายจ่าย” ทางบัญชีการเงิน และการบวกกลับทางภาษี ปัญหาการตีความคำว่า “ค่าจ้าง” ตามกฎหมายแรงงานและปัญหาการ “หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย” ของพนักงานตามแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.1 / และ ภ.ง.ด. 1 ก. ตามประมวลรัษฎากร
เนื้อหา
1. ปัญหาด้านกฎหมายแรงงานและภาษีอากรในการจ่ายเงินเดือน / ค่าจ้างและสวัสดิการ
2. สวัสดิการในกฎหมายแรงงาน กับประโยชน์เพิ่มตามกฎหมายภาษี
3. ระเบียบสวัสดิการพนักงาน กับระเบียบข้อบังคับการทำงานเหมือนกันหรือไม่
4. การให้สวัสดิการในสัญญาจ้าง กับการระบุไว้ในระเบียบ / ข้อบังคับต่างกันอย่างไร
5. สภาพการจ้างตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์จะผูกพันนายจ้างเรื่องการให้สวัสดิการพนักงานอย่างไร
6. เทคนิคการวางแผนสวัสดิการพนักงาน 25 ประเด็น
1) การประกันภัยพนักงาน
2) เงินช่วยเหลือค่าทำศพและบำเหน็จตกทอดทายาท
3) การจัดเรื่องการรักษาพยาบาลและห้องพยาบาล
4) เงินช่วยเหลือพนักงานคลอดบุตรและการมีบุตร
5) การจ่ายเงินค่าเบี้ยเลี้ยง / ค่าที่พัก / และค่าพาหนะ
6) การจัดรถรับ - ส่ง ให้พนักงาน
7) เงินช่วยเหลือค่าครองชีพ
8) เงินช่วยเหลืองานสมรส
9) เงินช่วยเหลือพนักงานอุปสมบท
10) การจัดอาหารกลางวันให้พนักงาน
11) เงินช่วยเหลือค่าเช่าบ้านให้พนักงาน
12) การให้มีสัมมนาและทัศนศึกษานอกสถานที่
13) การช่วยเหลือค่าน้ำมันรถส่วนตัวแก่พนักงาน
14) การช่วยเหลือค่าทางด่วนแก่พนักงาน
15) การช่วยเหลือค่าโทรศัพท์ของพนักงาน
16) การจัดให้มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund)
17) การจัดให้มีกองทุนประกันสังคม (The Social Fund)
18) การจ่ายเงินโบนัส
19) การให้เครื่องแบบพนักงาน
20) การจ่ายค่าล่วงเวลาให้พนักงาน
21) การจ่ายค่าคอมมิชชั่น (Commision) ให้พนักงาน
22) การให้กู้ยืมเงินโดยไม่คิดดอกเบี้ย / ดอกเบี้ยต่ำ
23) การจ่ายเบี้ยขยัน
24) การช่วยทุนการศึกษาบุตรของพนักงาน
25) การให้ของที่ระลึกแก่พนักงานที่ทำงานมานาน
7. การตอบคำถามผู้เข้าสัมมนา
วิทยากร : รองศาสตราจารย์เพิ่มบุญ แก้วเขียว
- อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- วิทยากรด้านกฎหมายธุรกิจและการวางแผนภาษีอากร
- ผู้เขียนหนังสือและบทความด้านกฎหมายธุรกิจและภาษีอากรลงวารสารต่างๆ
- ที่ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายด้านสัญญาและภาษี
การศึกษา
- มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย พ.ศ. 2516 รุ่น 88
- นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- นิติศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผลงานที่ผ่านมา หนังสือ
- คู่มือกฎหมายมรดก
- ถาม - ตอบ กฎหมายมรดก
- กฎหมายว่าด้วยภาษีอากร
- การหักภาษี ณ ที่จ่าย (วิธีปฏิบัติ)
- เจาะลึกปัญหาภาษีอากร
- สัญญาทางธุรกิจและปัญหาภาษีอากร
- สาระน่ารู้เกี่ยวกับกฎหมาย
กำหนดการ วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม 2567 เวลา 09.00-16.00 น.
สถานที่ โรงแรมเมอเวนพิค สุขุมวิท ซ.15
ราคา/ท่าน
|
Vat 7%
|
ราคารวม Vat
|
หัก ณ
ที่จ่าย 3%
|
ราคาหลังหัก
ณ ที่จ่าย
|
ราคาปกติ
|
4,500
|
315
|
4,815
|
135
|
4,680
|
สมาชิก,โอนก่อน 1 สัปดาห์
|
4,300
|
301
|
4,601
|
129
|
4,472
|
3 ท่านขึ้นไป
|
4,000
|
280
|
4,280
|
120
|
4,160
|
หมายเหตุ - ค่าลงทะเบียนเข้าร่วมสัมมนาสามารถนำไปลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ 200%
- ราคาราคานี้ รวมอาหารเช้า-กลางวัน และอาหารว่าง 2 มื้อ พร้อมกิ๊ฟเซ็ต สมุด ปากกา ถุงผ้า
กรุณาดาวน์โหลดหลักสูตรและใบลงทะเบียนที่นี่ หรือกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มด้านล่างเพื่อลงทะเบียน