การวางแผนกลยุทธ์,สมิต สัชฌุกร,เคเอ็นซี เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์,ชาติ ตรีเดช,ฝึกอบรมสัมมนา
ReadyPlanet.com
dot dot
bulletIn-house Training
bulletบริการจัดกิจกรรม Walk Rally
dot
ค้นหาหัวข้อ/หลักสูตรต่างๆ

dot
bulletวิทยากร
ค่าอบรมสัมมนาลดหย่อนภาษี 200%
dot
ใส่อีเมล์เพื่อรับข่าวสารสัมมนา

dot
dot
สถานที่จัดสัมมนา
dot
bulletโรงแรมเซนต์เจมส์ สุขุมวิท 26
bulletโรงแรมอไรซ์ สุขุมวิท ซ.26
bulletโรงแรมจัสมินซิตี้ สุขุมวิท ซ.23
bulletโรงแรมแกรนด์ สุขุมวิท ซ.4-6
bulletโรงแรมบูเลอวาร์ด สุขุมวิท ซ.5
bulletโรงแรมฮิป ซ.เนียมอุทิศ
bulletโรงแรมเดอะ พาลาซโซ
bulletแผนที่โรงแรมโกลด์ ออร์คิด
bulletศูนย์ประชุม เดอะคอนเน็คชั่น
bulletโรงแรมโนโวเทล สุขุมวิท ซ.20
bulletโรงแรมเอส 31 (สุขุมวิท 31)
bulletโรงแรม HOLIDAY INN BANGKOK
bulletโรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ แพลทินัม ประตูนั้ำ
bulletโรงแรม Rembrandt Hotel & Suites, Bangkok
bulletโรงแรมเมอเวนพิค สุขุมวิท 15 กรุงเทพฯ
dot
สมัครสมาชิก
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่ขณะนี้ คน
สมาชิกที่ Log in อยู่
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 23 คน
dot
หนังสือวรรณศิลป์/สมิต สัชฌุกร
หนังสือข้อคิดควรคำนึง/สมิต สัชฌุกร
รับสมัครวิทยากร
bulletหลักสูตร Public Training


บริการจัด Walk Rally, In-house Training ราคาพิเศษ
บริการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์
ค้นหาราชกิจจานุเบกษา

รูปแบบใหม่ของการทำกิจกรรม Outing และ Training
สัมมนาวิญญูชน
วิดีโอบรรยากาศการสัมมนา ของ เคเอ็นซี เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์
สแกนเพื่อติดต่อเคเอ็นซีทาง Line


การวางแผนกลยุทธ์

 การวางแผนกลยุทธ์,สมิต สัชฌุกร,เคเอ็นซี เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์

การวางแผนกลยุทธ์

สมิต   สัชฌุกร*

******************************************

1.    แผนกลยุทธ์ คืออะไร 

การวางแผน คือการคิดล่วงหน้าหมายถึงการกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย นโยบาย วิธีการ และระยะเวลาโดยใช้ข้อมูลในปัจจุบันเพื่อให้สามารถดำเนินการจนบรรลุผล

คำว่า  กลยุทธ์”  บางครั้งใช้ว่า  ยุทธศาสตร์”  เป็นคำที่ยืมมาจากทางทหารเพราะทหารจะมีวิธีการรบที่เรียกว่า ยุทธวิธีแต่เมื่อมีการรบในแต่ละสถานการณ์ก็จะต้องใช้วิธีการรบที่พลิกแพลงซึ่งเรียกว่า กลยุทธ์เพื่อให้ได้รับผลแทนที่จะเป็นวิธีการรบตามปกติ เช่น ในการยกพลขึ้นบก  ยุทธวิธีที่ใช้กันมาแต่เดิมก็จะมีการลำเลียงพลจากเรือใหญ่ลงเรือเปิดหัวเพื่อนำไปเกยหาดให้ทหารวิ่งขึ้นบกได้โดยรวดเร็ว  แต่ก็เป็นยุทธวิธีที่ต้องเสียกำลังพลจากการต่อต้านเป็นอันมาก  จึงต้องหากลยุทธ์ในการที่จะลำเลียงพลเข้ายึดพื้นที่หลังแนวข้าศึกด้วยการใช้พลร่มหรือใช้เรือปืนยิงเปิดทางให้ทหารบุกเข้ายึดพื้นที่โดยไม่มีการต้านทานจากข้าศึก ในทางธุรกิจได้นำคำว่ากลยุทธ์มาใช้อย่างแพร่หลายเหมือนกับว่าการทำธุรกิจก็มีวิธีการที่ต้องคิดในเชิงกลยุทธ์เช่นเดียวกัน

แผนกลยุทธ์ คือ การกำหนดกลยุทธ์ต่างๆ ที่จะช่วยให้บรรลุผลโดยใช้วิธีการอันแยบยลบนพื้นฐานของสภาพแวดล้อมขององค์การในปัจจุบันเชื่อมโยงถึงภาพขององค์การในอนาคตด้วยการจัดทำกลยุทธ์หลัก แผนที่ทางกลยุทธ์  วัตถุประสงค์  การวัด  เป้าหมาย และโปรแกรมริเริ่ม ซึ่งเป็นการจัดทำแผนโดยฝ่ายจัดการในระดับสูง” 

แผนกลยุทธ์หากจัดทำขึ้นอย่างครอบคลุมครบถ้วนในการดำเนินธุรกิจก็จะมีลักษณะเหมือนเป็นแผนหลักที่จะใช้ในการยึดโยงแผนต่างๆ ทั้งแผนการบริหาร แผนปฏิบัติการ  และแผนดำเนินงานให้อยู่ในแนวทางเดียวกัน

2. การวิเคราะห์สถานภาพขององค์การ

การศึกษาและวิเคราะห์สถานภาพขององค์การโดยพิจารณาจากสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ในแง่มุมต่าง ๆ ทั้งในปัจจุบันและอนาคตที่จะมีอิทธิพลหรือส่งผลกระทบต่อความอยู่รอด การเจริญเติบโต หรือความล้มเหลวขององค์การ เพื่อนำผลลัพธ์ที่ได้จากการศึกษาวิเคราะห์นี้ไปใช้ในการกำหนดโอกาสหรือช่องทางต่าง ๆ ทางธุรกิจ  การวิเคราะห์ภาวะคุกคามเรื่องต่าง ๆ ทางธุรกิจ ตลอดจนการพัฒนาวิธีการที่จะฉกฉวยประโยชน์จากโอกาสที่เปิดกว้าง หรือหลีกหนีจากภาวะคุกคามหรือความเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะมีขึ้นได้ในอนาคตเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง

สภาวการณ์ที่มีผลกระทบต่อการบริหาร  มีทั้งสภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอก  ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญในการที่จะต้องปรับเปลี่ยนการบริหารให้สอดคล้องกับสถานการณ์

          สภาพแวดล้อมภายใน ประกอบด้วยปัจจัยพื้นฐาน ได้แก่

          1. คน

          2. ทุน

          3. เครื่องจักร

          4. การจัดการ

          สภาพแวดล้อมภายนอก

          1. การเมือง

          2. กฎหมาย

          3. นโยบายภาษี

          4. นโยบายการเงินการคลังในประเทศ

          5. นโยบายส่งเสริมการลงทุนของรัฐ

          6. ลูกค้า

          7. คู่แข่ง

          8. ภาวะเศรษฐกิจของประเทศ

          9. ภาวะเศรษฐกิจและการเงินของโลก

          10. สถานการณ์แรงงาน

          11. วิทยาศาสตร์

          12. เทคโนโลยี

          13. วัฒนธรรม

3. การมองอนาคตกับการวางแผนกลยุทธ์

ต่อจากการวิเคราะห์สภาพขององค์การเราจะได้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานทั้งในปัจจุบันและในอนาคตขององค์การ ซึ่งผู้บริหารจะสามารถนำมาใช้ประกอบการมองอนาคตซึ่งอาจเป็นไปได้หลายรูปแบบตามแต่จะได้รับผลกระทบของปัจจัยสำคัญ

การมองอนาคตเป็นภาพที่กว้างเกินไปอาจไม่เกิดประโยชน์ต่อการวางแผนกลยุทธ์  จะต้องมองอนาคตเพื่อให้การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมขององค์การมีความสมบูรณ์รอบด้านจึงจะสามารถนำข้อมูลต่างๆที่ได้จากการวิเคราะห์มากำหนดเป็นวิสัยทัศน์ (Vision)  ภารกิจ (Mission)  วัตถุประสงค์ (Objective) และเป้าหมาย (Goal) ขององค์การ  เพื่อใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจและการดำเนินงานอย่างละเอียดรอบคอบ

4. การกำหนดทิศทางขององค์การ

อนาคตขององค์การอาจเป็นไปได้หลายรูปแบบ ดังนั้นจึงควรจะมองภาพอนาคตไว้หลายภาพที่มีทิศทางแตกต่างกันแล้วพิจารณาว่าภาพอนาคตจะมีโอกาสเกิดขึ้นหรือส่งผลคุกคามต่อองค์การในปัจจุบันอย่างไร เพื่อนำมาเพิ่มเติมและปรับปรุงเกี่ยวกับจุดแข็ง (Strengths) จุดอ่อน (Weaknesses) โอกาส (Opportunities) และอุปสรรค (Threats) ที่ได้จัดทำไว้เพราะเราจะต้องนำตารางการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคมาใช้ประกอบการคิดเสมอ จึงต้องทบทวนความถูกต้องของการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคเพื่อนำมาจัดอันดับความสำคัญ

          การวิเคราะห์ SWOT อาจพิจารณาในขั้นพื้นฐานด้วยการตั้งประเด็นคำถาม ดังนี้

          จุดแข็ง

          1. มีข้อใดบ้างที่ได้เปรียบคู่แข่ง

          2. มีศักยภาพอะไรบ้างที่เหนือกว่าคู่แข่ง

          3. เป็นผู้ผลิตสินค้า หรือบริหารที่มีต้นทุนต่ำได้หรือไม่

          4. ตำแหน่งทางการตลาดอยู่อันดับที่เท่าใด

          5. เป็นผู้ค้นคิด หรือพัฒนาเทคโนโลยีของธุรกิจเราได้เองหรือไม่

          จุดอ่อน

          1. ตำแหน่งในการแข่งขันของเราถดถอยลงหรือไม่

          2. อุปกรณ์การดำเนินงานล้าสมัยหรือไม่

3. ผลประกอบการลดลงกว่าที่ควรจะเป็นหรือไม่

          4. พนักงานขาดทักษะในการปฏิบัติงานที่จำเป็นหรือไม่

          5. มีปัญหาเรื่องเงินทุนหมุนเวียนหรือไม่

          โอกาส

          1. มีโอกาสที่จะเข้าสู่ตลาดใหม่หรือไม่

          2. มีศักยภาพในการขาย Product Line หรือไม่

          3. คู่แข่งของเราอ่อนกำลังลง หรือประมาทในการดำเนินธุรกิจหรือไม่

          4. ตลาดมีโอกาสที่จะเจริญเติบโตอีกหรือไม่

          อุปสรรค

          1. เรากำลังจะมีคู่แข่งรายใหม่หรือไม่

          2. จะมีสินค้าหรือบริการใหม่เข้ามาทดแทนของเราหรือไม่

          3. การขยายตัวของธุรกิจ หรือตลาดช้าลงหรือไม่

          4. นโยบายของรัฐบาลมีผลกระทบต่อธุรกิจของเราหรือไม่

          5. รสนิยม หรือความต้องการของลูกค้าเปลี่ยนไปหรือไม่

          6. สภาวะเศรษฐกิจถดถอยมีผลกระทบต่อเรารุนแรงหรือไม่

          การกำหนดทิศทางขององค์การ จะส่งผลต่อการดำเนินงานที่ทำให้องค์การอยู่รอดหรือเจริญรุ่งเรือง  หากกำหนดทิศทางผิดก็จะทำให้การดำเนินงานหลงทางไม่ประสบผลสำเร็จ  นักบริหารเชิงกลยุทธ์จึงให้ความสำคัญกับการกำหนดทิศทางขององค์การเป็นอย่างมาก

5. การพิจารณา Key Issue

ผู้บริหารจะต้องร่วมในการพิจารณาระดมความคิดถึงสิ่งที่คาดว่าจะเกิดกับองค์การ หรือคาดว่าจะไม่เกิดกับองค์การและสิ่งที่ไม่แน่ใจว่าจะเกิดหรือไม่เกิดกับองค์การด้วยการแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวางในการประชุมร่วมกันของผู้มีส่วนได้เสีย แล้วจึงนำมาจัดกลุ่มและสรุปเป็นประเด็นที่ถือเป็น Key Issue เพื่อนำผลที่ได้ไปสร้างภาพอนาคตขององค์การโดยคำนึงถึงการให้เหตุผลเป็นตรรกะเพื่อหาว่าจะสร้างภาพอนาคตเป็นภาพใดได้บ้าง

ผู้ร่วมประชุมที่เป็นผู้มีส่วนได้เสียอาจระดมความคิดออกมามากมายทั้งที่มีประโยชน์โดยตรง  และมีประโยชน์โดยอ้อม  แม้กระทั่งความคิดที่ไม่เป็นประโยชนแต่หากนำไปคิดทบทวนอีกด้านหนึ่งอาจเป็นประโยชน์อย่างมาก  จึงไม่ควรทิ้งความคิดต่างๆ ไปโดยง่าย

Key Issue ไม่ควรกำหนดเป็นเมนูไว้ให้เลือกเพราะจะเป็นการจำกัด  ขอบเขตให้คิดตั้งแต่ต้นควรให้เป็นผลจากการระดมความคิดของผู้มีส่วนได้เสียอย่างอิสระ มีปริมาณความคิดที่มากพอเพียงแก่การจัดกลุ่มและสรุปเป็นประเด็นหลัก

-------------------------------------------------------
*สมิต สัชฌุกร ผู้เชี่ยวชาญ ด้าน HR 
จบการศึกษา จากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น จากทั้งธรรมศาสตร์ (2549) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2539)
ประสบการณ์การทำงาน ท่านทำงานมาหลากหลาย หน้าที่ เช่น อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ หัวหน้าส่วนพัฒนาบุคคล และฝึกอบรม ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด ประธานกรรมการบริษัท แมเนจเม้นท์ลิงค์ จำกัด
ด้านกิจกรรมทางสังคมและวิชาชีพ เป็นนายกสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย นายกสมาคมพัฒนาบุคคลและวิชาชีพ นายกวาทสมาคมแห่งประเทศไทย และอุปนายกสมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย




บทความ

การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management)
บริการสำคัญอย่างไร ?
การหมุนเวียนงาน
การสัมภาษณ์สำหรับผู้บริหาร
การตัดสินใจ
การจัดทำขีดความสามารถ
การให้คำปรึกษาแนะนำ
การวิเคราะห์และแก้ปัญหา
การปรับปรุงกระบวนการ
การปฐมนิเทศพนักงานใหม่
การบริหารกิจกรรม 5ส
การบริหารทรัพยากรมนุษย์บนพื้นฐานของระบบความสามารถหลัก
การทำงานเป็นทีม
ลดต้นทุนในองค์กร เรื่องที่ทุกคนต้องใส่ใจ
เอกชน โยกฐานผลิตไป มะริด-ทวาย หนีค่าจ้าง 300 บาท
จุดแข็ง-จุดอ่อน-เบื้องต้น ของประเทศต่างๆใน AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
โหราศาสตร์ค้นหา 'Talent'
ปัญหาภาษีอากรสำหรับการประกอบกิจการขนส่ง ขนถ่ายสินค้า
เปิดคัมภีร์บริหารคน article
เทรนด์บริหารงาน HR ปี 2555 article
HR Trends 2013 article



Copyright © 2013 All Rights Reserved.