การทำงานเป็นทีม,สมิต สัชฌุกร,เคเอ็นซี เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์,ชาติ ตรีเดช,อบรมสัมมนา
ReadyPlanet.com
dot dot
bulletIn-house Training
bulletบริการจัดกิจกรรม Walk Rally
dot
ค้นหาหัวข้อ/หลักสูตรต่างๆ

dot
bulletวิทยากร
ค่าอบรมสัมมนาลดหย่อนภาษี 200%
dot
ใส่อีเมล์เพื่อรับข่าวสารสัมมนา

dot
dot
สถานที่จัดสัมมนา
dot
bulletโรงแรมเซนต์เจมส์ สุขุมวิท 26
bulletโรงแรมอไรซ์ สุขุมวิท ซ.26
bulletโรงแรมจัสมินซิตี้ สุขุมวิท ซ.23
bulletโรงแรมแกรนด์ สุขุมวิท ซ.4-6
bulletโรงแรมบูเลอวาร์ด สุขุมวิท ซ.5
bulletโรงแรมฮิป ซ.เนียมอุทิศ
bulletโรงแรมเดอะ พาลาซโซ
bulletแผนที่โรงแรมโกลด์ ออร์คิด
bulletศูนย์ประชุม เดอะคอนเน็คชั่น
bulletโรงแรมโนโวเทล สุขุมวิท ซ.20
bulletโรงแรมเอส 31 (สุขุมวิท 31)
bulletโรงแรม HOLIDAY INN BANGKOK
bulletโรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ แพลทินัม ประตูนั้ำ
bulletโรงแรม Rembrandt Hotel & Suites, Bangkok
bulletโรงแรมเมอเวนพิค สุขุมวิท 15 กรุงเทพฯ
dot
สมัครสมาชิก
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่ขณะนี้ คน
สมาชิกที่ Log in อยู่
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 16 คน
dot
หนังสือวรรณศิลป์/สมิต สัชฌุกร
หนังสือข้อคิดควรคำนึง/สมิต สัชฌุกร
รับสมัครวิทยากร
bulletหลักสูตร Public Training


บริการจัด Walk Rally, In-house Training ราคาพิเศษ
บริการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์
ค้นหาราชกิจจานุเบกษา

รูปแบบใหม่ของการทำกิจกรรม Outing และ Training
สัมมนาวิญญูชน
วิดีโอบรรยากาศการสัมมนา ของ เคเอ็นซี เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์
สแกนเพื่อติดต่อเคเอ็นซีทาง Line


การทำงานเป็นทีม

 การทำงานเป็นทีม,สมิต สัชฌุกร,เคเอ็นซี เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์

การทำงานเป็นทีม

สมิต สัชฌุกร*

***************************************

ในการบริหารมีการเน้นการทำงานเป็นทีม   การคัดเลือกข้าราชการและพนักงานก็มีข้อกำหนดคุณสมบัติในการคัดเลือกด้วย  การพิจารณาสมรรถนะหลักหรือขีดความสามารถหลัก  (Core Competency)   ที่ทุกคนจะต้องมี ในการรับเข้าทำงานทุกตำแหน่งได้แก่ การทำงานเป็นทีม  (Teamwork)  แต่เมื่อมีการทำงานจริงก็มักจะพบว่ามีทีมงาน (Work  Team)  แต่ทำงานไม่เป็นทีม  เพราะยังแยกไม่ออกว่าทีมงานกับการทำงานเป็นทีมนั้นเป็นอย่างไร  จึงต้องทำความเข้าใจแต่ต้นว่า  การมีทีมงานยังไม่พอ  ต้องทำให้เกิดการทำงานเป็นทีมด้วย

ทีมงาน (Workteam)

เมื่อคนเรามารวมกันเข้า (Collection) ก็จะยังไม่เกิดกลุ่ม (Group) แม้จะอยู่ในสถานที่แห่งเดียวกัน  ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ทำงานหรือชุมชน  จนกว่าการรวมกันนั้นจะมีวัตถุประสงค์ร่วมกันจึงจะเกิดเป็นกลุ่มขึ้น

การรวมกลุ่มไม่ว่าจะเป็นกลุ่มประเภทใด  จะต้องมีวัตถุประสงค์ของการรวมกลุ่ม  ตัวอย่างเช่น

1. กลุ่มที่เกิดจากความสัมพันธ์ส่วนตัว  เป็นกลุ่มที่มีวัตถุประสงค์เพื่อติดต่อสัมพันธ์กัน  มีความใกล้ชิดสนิทสนมกัน  เพราะมีความชอบพอจะคบหากันด้วยความถูกใจหรือมีอัธยาศัยตรงกัน

2. กลุ่มที่มีกิจกรรมซึ่งสนใจร่วมกัน  เป็นกลุ่มที่มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินกิจกรรมที่สมาชิกของกลุ่มจะร่วมมือกันทำในสิ่งซึ่งแต่ละคนมีความสนใจร่วมกัน  เช่น  ชมรมหรือสมาคมต่างๆ ในทางดนตรี  กีฬา  งานอดิเรก  เป็นต้น

3. กลุ่มคนอาชีพเดียวกัน  เป็นกลุ่มที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลอำนวยผลประโยชน์แก่กันหรือร่วมกัน  ปกป้องดูและผลประโยชน์ของผู้ร่วมอาชีพ  เช่น  สมาคมนักธุรกิจ  สมาคมนักบริหาร  สมาคมพ่อค้า  สมาคมข้าราชการ  พรรคการเมือง  เป็นต้น

กลุ่มที่เกิดขึ้นนั้น  จะต้องพัฒนาให้เกิดความสัมพันธ์เป็นระบบขึ้น  มีวัตถุประสงค์เดียวกัน  และแบ่งงานกันทำตามหน้าที่ก็จะกลายเป็น ทีมงาน

ทีมงาน  คือ  บุคคลหลายคน  ร่วมทำงานด้วยวัตถุประสงค์เดียวกัน  โดยแบ่งงานกันทำตามหน้าที่  เช่น  ทีมงานวงดนตรี  ทีมกีฬา  เป็นต้น

การทำงานเป็นทีม (Teamwork)

ทีมงานนั้นสามารถสร้างได้ไม่ยาก  แต่การที่จะพัฒนาการทำงานเป็นทีมกลับเป็นเรื่องยากและมีความละเอียดอ่อน  ต้องการความสามารถและความตั้งใจของผู้นำทีมอย่างจริงใจและจริงจัง

องค์ประกอบของการทำงานเป็นทีมมีสิ่งที่จะต้องประกอบเข้าด้วยกัน (Element) หลายประการ  ซึ่งโดยทั่วไปจะมีการพิจารณาถึงสิ่งต่อไปนี้

1. วัตถุประสงค์

2. กิจกรรม

3. วิธีการ

4. บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ

5. กฎระเบียบและการควบคุม

6. ความเข้าใจซึ่งกันและกัน

7. การสื่อสาร

8. ความร่วมมือ

9. ความขัดแย้ง

10. ผู้นำทีม

นอกจากการพิจารณาและเสริมสร้างความเข้มแข็งในสิ่งที่จะประกอบเข้าด้วยกัน  เพื่อให้เกิดการทำงานเป็นทีมแล้ว  ผู้นำทีมจะต้องเสริมสร้างคุณสมบัติที่ดีในการเป็นผู้พัฒนาทีมงาน  และรู้จักใช้เทคนิคการสร้างทีมสปิริตด้วย

ลักษณะของการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิผล

การทำงานเป็นทีมที่ดีควรจะมีลักษณะดังนี้คือ

1. มีเป้าหมายร่วมของกลุ่มเป็นที่แน่ชัด

2. แต่ละคนในกลุ่มต้องมีความเข้าใจในขอบเขตฐานะและบทบาท  ตลอดจนอำนาจหน้าที่  ความรับผิดชอบที่ถูกต้อง

3. ต้องมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับงานของตนเองและของผู้ร่วมทีม

4. ต้องมีความยืดหยุ่นในการทำงานบ้างตามสมควร  และร่วมรับรู้ด้วยกัน

5. พฤติกรรมการทำงานในระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นไปในลักษณะทำงานร่วมกับคน (work with people) มิใช่แบบทำงานบนหัวคนหรือกดหัวคน (work on people)

6. สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มต้องรู้จักตนเองอย่างเพียงพอต่อการที่จะเข้าใจเกี่ยวกับตนเองอย่างแท้จริง

7. ต้องทำความเข้าใจต่อเพื่อนร่วมงานและร่วมกลุ่มได้เป็นอย่างดีเพียงพอด้วย

8. เปิดโอกาสให้ทุกคนที่อยู่ในกลุ่มได้มีส่วนร่วมในการนั้นๆ ด้วยอย่างเต็มที่  และมีการเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของเสียงส่วนน้อยเป็นอย่างดีอีกด้วย

9. ควรจัดให้มีการประชุมเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ  เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

10. กระบวนการสื่อสารและสัมพันธภาพภายในกลุ่ม  จะมีแต่บรรยากาศของความไว้วางใจกันและเปิดเผยต่อกันและกันสูง  จนกระทั่งทุกคนกล้าที่จะพูดในสิ่งที่ตนคิด  และตรงไปตรงมาเพื่อประโยชน์ขององค์การ

11. ควรปรับตนให้เป็นบุคคลที่มีปฏิกิริยาโต้ตอบ  หรือความขัดแย้งในด้านความคิดสูง (high in idea conflict) ขณะเดียวกันความขัดแย้งในทางส่วนตัวต่ำ (low in personal conflict)

12. การขจัดข้อขัดแย้งภายในกลุ่มในข้อคิดเห็นควรใช้วิธีเผชิญหน้าแก้ปัญหาด้วยข้อมูล ข้อเท็จจริง  เพื่อใช้เหตุผลที่ดีต่อกัน

13. ใช้วิธีประสานประโยชน์ในเรื่องความรู้ความสามารถของบุคคลในกลุ่ม  ให้มีแนวทางที่จะให้ได้ผลร่วมกันสูงสุด

14. การตัดสินใจใดๆ ภายในกลุ่มจะอาศัยข้อเท็จจริง (fact) แทนข้อมูลที่เป็นความรู้สึก (felt)

15. ภาวะความเป็นผู้นำภายในกลุ่มควรกระจายไปทั่วกลุ่ม

16. ไม่ควรมีหัวหน้าทีมที่เป็นแต่เพียงนักพูดเท่านั้น  แต่เขาจะต้องเป็นนักฟังที่ดี  และมีความตั้งใจอย่างแท้จริงอีกด้วย

17. กรณีที่สมาชิกใหม่เข้ามาสังกัดในทีม  จะมีวิธีการปฏิบัติที่จะปรับทัศนคติ  ความเชื่อ  ค่านิยม  ตลอดจนความคาดหวังของคนใหม่ให้สอดคล้องและเข้ากันได้กับกลุ่มอย่างรวดเร็ว

18. สมาชิกมีการยอมรับนับถือ  และเคารพในความแตกต่างของความรู้ความสามารถของแต่ละคนในแต่ละด้านอย่างเต็มที่

19. หัวหน้าทีมควรเป็นแบบอย่างที่ดี  ทั้งในแง่มาตรฐานความประพฤติส่วนตัวและการทำงาน

20. มีระบบการให้คุณและโทษ  เกี่ยวกับการเลื่อนขั้น  เลื่อนตำแหน่งและเงินเดือนที่สนับสนุนและเอื้ออำนวยต่อการที่จะทำให้คนกล้าพูด  กล้าคิด  กล้าเขียน  และกล้าทำในสิ่งที่ดี  และ ถูกต้องต่อการทำงานต่อไป

ข้อบ่งชี้ถึงการทำงานเป็นทีม               

Douglas  Mc  Gregor  ได้กล่าวไว้ในหนังสือชื่อ  “The Human Side of Enterprise”   หน้า  232-235  ว่า  สิ่งที่ชี้ให้เห็นถึงการทำงานเป็นทีมมีดังต่อไปนี้

1. บรรยากาศในทีมมักจะเป็นแบบกันเอง  ไม่มีพิธีรีตอง  เป็นไปแบบสบาย ๆ และไม่ตรึงเครียด  บรรยากาศในการทำงานจะเป็นลักษณะทุกคนเข้าร่วมกัน  และทุกคนมีความสนใจและไม่มีร่องรอยแสดงความเบื่อหน่ายงานให้เห็น

2. ในทีมงานจะมีการอภิปรายหารือกันอย่างมาก  อันเป็นการอภิปรายกันโดยทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริง  ทั้งเป็นการอภิปรายที่ตรงกับเรื่องของทีม  ถ้าเกิดมีใครอภิปรายนอกเรื่อง  ก็จะมีคนดึงกลับเข้าโดยเร็ว

3. สมาชิกทีมทุกคนมีความเข้าใจและยอมรับในงาน  และมีวัตถุประสงค์ของทีมอย่างแจ่มแจ้งและจริงจัง  จะมีการอภิปรายกันอย่างเสรีถึงวัตถุประสงค์ของทีมในบางแง่จนกว่าจะเป็นวัตถุประสงค์ของทีมที่สมาชิกทุกคนยอมรับผิดชอบผูกพันอย่างแท้จริง

4. สมาชิกจะยอมฟังกันและกัน  การอภิปรายจะไม่มีการกระโดดจากข้อคิดหนึ่งไปยังอีกข้อคิดหนึ่งที่ไม่เกี่ยวกันเลย  ทุกคนจะฟังทุกข้อคิดที่สมาชิกเสนอ  ทุกคนจะไม่กลัวถูกกล่าวหาว่าโง่  เมื่อเสนอความคิดสร้างสรรค์ที่ไม่เข้าท่า  แม้จะไม่เข้าท่าจริงๆ ก็ตาม

5. ในทีมจะมีการไม่เห็นด้วยอยู่ตลอดเวลา  และกลุ่มก็มีความสบายใจกับสภาพการณ์แบบนี้  พวกเขาจะไม่พยายามหลีกเลี่ยงความขัดแย้งอย่างเด็ดขาด  หรือไม่พยายามที่จะทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างราบรื่นหรือหวานชื่นหรือสว่างแจ่มใส  ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีความเห็นไม่ลงรอยกันเหล่านั้นจะไม่ถูกกดเก็บหรือไม่นำขึ้นมาพิจารณาเป็นอันขาด  หากแต่จะมีการสำรวจตรวจดูเหตุผลของผู้ไม่เห็นด้วยอย่างรอบคอบ  แล้วกลุ่มจึงจะหาวิธีแก้ข้อขัดแย้งเหล่านั้น  โดยจะไม่ใช้อิทธิพลครอบงำ  ผู้ไม่เห็นด้วยนั้นแต่อย่างใด

ในทางกลับกัน  จะไม่มีการก่อกวนโดยคนส่วนน้อยแต่อย่างใดเช่นกัน  คนที่ไม่เห็นด้วยจะไม่ถูกมองว่าเป็นผู้ที่พยายามใช้อิทธิพลครอบคลุมผู้อื่น  หรือกลุ่ม  หรือไม่แสดงความเป็นศัตรูออกมาเลย  การไม่เห็นด้วยเป็นการแสดงออกให้เห็นความแตกต่างในทางความคิดเห็นอย่างจริงใจ  และพวกเขาก็หวังว่าคนอื่น ๆ จะฟังเพื่อที่จะหาวิธีแก้ไขต่อไป

บางครั้งจะมีการไม่เห็นด้วย  ซึ่งไม่สามารถจะแก้ได้ก็ตาม  แต่กลุ่มจะหาวิธีที่จะอยู่ร่วมกับความขัดแย้งนั้น ๆ ยอมรับความขัดแย้งเหล่านั้น  แต่จะไม่ยอมให้ความขัดแย้งเหล่านั้นเป็นอุปสรรคต่อการทำงานอย่างเด็ดขาด  ในบางสภาพการณ์จะมีการยอมให้มีการศึกษาเรื่องราวระหว่างสมาชิกกันต่อไป  หรือในบางกรณีที่การไม่ลงรอยกันนั้นไม่อาจจะแก้ไขได้  และการดำเนินการก็จำเป็นจะต้องดำเนินการต่อไปอย่างนี้เขาก็จะดำเนินการต่อไปทันที  แต่เขาจะระมัดระวังและตระหนักอยู่เสมอว่าเรื่องนี้จะต้องนำมาพิจารณาอีก

6. การตัดสินใจส่วนใหญ่จะเป็นการตัดสินใจโดยมีความเห็นพ้องต้องกัน (Consensus) ซึ่งแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าทุกคนมีความเห็นด้วยโดยทั่วไป  และเต็มที่จะปฏิบัติตามการตัดสินใจเหล่านั้น   แต่อย่างไรก็ดีมีแนวโน้มเล็กน้อยมากที่บุคคลผู้ไม่เห็นด้วยนั้นจะเก็บความไม่เห็นด้วยอย่างแท้จริงนั้นไว้ในใจโดยไม่แสดงออกมาด้วยความจริงใจ  การตัดสินใจโดยวิธีโหวตเสียงกันนั้นจะมีน้อยที่สุด  กลุ่มจะไม่ยอมรับเสียงข้างมากอย่างง่าย ๆ นี้ว่าเป็นการกระทำพื้นฐานอย่างถูกต้อง

7. การวิพากษ์วิจารณ์จะกระทำกันบ่อยเป็นนิจศีล  ทำกันอย่างเปิดเผยตรงไปตรงมา  และกระทำได้ด้วยความสบายใจ  การวิพากษ์วิจารณ์นี้จะมีการโจมตีเรื่องส่วนตัวของบุคคลน้อยมาก  หรือแทบไม่มีเลย  ไม่ว่าจะโดยเปิดเผยหรือลับหลัง  การวิพากษ์วิจารณ์จะเป็นไปในลักษณะสร้างสรรค์เพื่อแก้ไขในสิ่งที่ผิดและขจัดอุปสรรคต่าง ๆ ที่กลุ่มเผชิญอยู่และจะทำให้งานของกลุ่มไม่ก้าวหน้า

8. ทุกคนในกลุ่มรู้สึกเป็นอิสระที่จะแสดงความรู้สึกของตนออกมาได้เท่าๆ กับที่จะเสนอข้อคิดของตนออกมาไม่ว่าเรื่องปัญหาต่าง ๆ หรือเรื่องการปฏิบัติงานของกลุ่ม  จะมีการกลบเกลื่อนหรือเก็บกดน้อยที่สุด  และมีการเอา น้ำขุ่นไว้ข้างใน  น้ำใสไว้ข้างนอกน้อยที่สุดเช่นกัน  และทุกคนในทีมจะรู้สึกดีเช่นเดียวกันว่าคนอื่นในทีมจะรู้สึกอย่างไรไม่ว่าในเรื่องอะไรที่นำขึ้นมาอภิปราย  ทุกคนสามารถใช้ความรู้สึกโต้ตอบได้เช่นกัน

9. เมื่อถึงขั้นลงมือทำ  ทุกคนจะเข้าใจและยอมรับงานที่ได้รับมอบหมายด้วยความเต็มใจ

10. ประธานหรือผู้นำกลุ่มจะไม่ใช้อำนาจหรืออิทธิพลของตนเพื่อครอบคลุมกลุ่ม  ในทางตรงกันข้ามก็เช่นเดียวกัน  กลุ่มจะไม่ยอมตามประธานหรือผู้นำกลุ่มเหมือนกัน  ความจริงเมื่อเราสังเกตดูการทำงานของกลุ่มที่มีประสิทธิภาพ  เราจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า  ในบางครั้งบางคราวความเป็นผู้นำจะย้ายไปอยู่กับผู้อื่นบ้างในกลุ่มไม่ผูกขาดอยู่กับผู้นำที่เป็นทางการเท่านั้น  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์สิ่งแวดล้อม  สมาชิกในทีมต่างก็มีความรู้และประสบการณ์ต่างกัน  ดังนั้นทุกคนจึงอยู่ในฐานะที่จะเป็นผู้นำได้ในฐาน ผู้รู้ดีกว่าทุกคนในกลุ่ม  กลุ่มจะใช้ประโยชน์จากคนให้ได้มากที่สุดโดยวิธีนี้  และทุกคนจะยินดีเต็มใจเข้ารับบทบาทในฐานะผู้นำทันทีในฐานะ ผู้รู้ดีจะไม่มีการต่อสู้หักล้างกัน  เพื่อแสวงหาอำนาจใส่ตน  ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ว่าใครจะควบคุม  แต่อยู่ที่ว่างานจะสำเร็จลุล่วงอย่างไร

11. กลุ่มจะตื่นตัวและรู้ตัวเองในเรื่องการปฏิบัติงานของกลุ่มอยู่ตลอดเวลา  บางครั้งกลุ่มจะหยุดงานชั่วคราวเพื่อหันมาสำรวจตรวจดูตัวเองว่า  ขณะนี้กลุ่มของตนทำงานดีแล้วแค่ไหน  เพียงใด  จะมีอะไรบ้างที่จะเป็นอุปสรรคต่อการทำงาน  ปัญหาหรืออุปสรรคเหล่านั้นอาจจะเป็นเรื่องงานหรือระเบียบ  วิธีทำงานหรืออาจจะเป็นเรื่องคนที่มีความประพฤติไม่ดี  ซึ่งอาจจะเป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จ  วัตถุประสงค์ของกลุ่มแต่ไม่ว่าจะเป็นปัญหาอะไรก็ตาม  กลุ่มจะนำเอาขึ้นมาอภิปรายอย่างกว้างขวางจนกว่าจะได้วิธีแก้ปัญหานั้น ๆ

-------------------------------------------------------
*สมิต สัชฌุกร ผู้เชี่ยวชาญ ด้าน HR 
จบการศึกษา จากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น จากทั้งธรรมศาสตร์ (2549) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2539)
ประสบการณ์การทำงาน ท่านทำงานมาหลากหลาย หน้าที่ เช่น อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ หัวหน้าส่วนพัฒนาบุคคล และฝึกอบรม ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด ประธานกรรมการบริษัท แมเนจเม้นท์ลิงค์ จำกัด
ด้านกิจกรรมทางสังคมและวิชาชีพ เป็นนายกสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย นายกสมาคมพัฒนาบุคคลและวิชาชีพ นายกวาทสมาคมแห่งประเทศไทย และอุปนายกสมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย




บทความ

การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management)
บริการสำคัญอย่างไร ?
การหมุนเวียนงาน
การสัมภาษณ์สำหรับผู้บริหาร
การตัดสินใจ
การจัดทำขีดความสามารถ
การให้คำปรึกษาแนะนำ
การวิเคราะห์และแก้ปัญหา
การปรับปรุงกระบวนการ
การปฐมนิเทศพนักงานใหม่
การบริหารกิจกรรม 5ส
การบริหารทรัพยากรมนุษย์บนพื้นฐานของระบบความสามารถหลัก
การวางแผนกลยุทธ์
ลดต้นทุนในองค์กร เรื่องที่ทุกคนต้องใส่ใจ
เอกชน โยกฐานผลิตไป มะริด-ทวาย หนีค่าจ้าง 300 บาท
จุดแข็ง-จุดอ่อน-เบื้องต้น ของประเทศต่างๆใน AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
โหราศาสตร์ค้นหา 'Talent'
ปัญหาภาษีอากรสำหรับการประกอบกิจการขนส่ง ขนถ่ายสินค้า
เปิดคัมภีร์บริหารคน article
เทรนด์บริหารงาน HR ปี 2555 article
HR Trends 2013 article



Copyright © 2013 All Rights Reserved.